แผ่นอะคริลิค และอะคริลิค

18180

อะคริลิค/แผ่นอะคริลิค

ถือเป็นผลิตภัณฑ์พอลิเมอร์ที่ถูกนำมาใช้งานอย่างกว้างขวางในภาคอุตสาหกรรม สำหรับเป็นสารตั้งตั้งในการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆส่งจำหน่ายแก่ภาคครัวเรือน หรือ ภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ทั้งในรูปอะคริลิคเหลวสำหรับภาคอุตสาหกรรม และแผ่นอะคริลิคหรือพลาสติกอะคริลิกสำหรับงานในด้านต่างๆ

อะคริลิค หรือ อะคริลิคเรซิน (Acrylic Resins) เป็นพอลิเมอร์ และโคพอลิเมอร์ที่เตรียมได้จากกรดอะคริลิค และอนุพันธ์ของกรดอะคริลิค และเอสเทอร์ของกรดอะคริลิค มีสูตรโครงสร้าง คือ CH2=CHR โดยใช้สารตั้งต้น ได้แก่ Methyl Acrylate, Ethyl Acrylate และ Methyl Methacrylate ผลิตออกมาเป็นอะคริลิคที่นิยมใช้มากคือ Polymethyl Methacrylate (PMMA)

ผลิตภัณฑ์อะคริลิค

แบ่งได้เป็นประเภทต่างๆ คือ

แผ่นอะคริลิค

1. อะคริลิกของแข็ง เป็นเทอร์โมพลาสติกเรซินที่อยู่ในรูปของแข็ง อาจเป็นเม็ดอะคริลิคหรือขึ้นรูปเป็นแผ่น เช่น แผ่นอะคริลิคหรือพลาสติกอะคริลิค ถือเป็นโฮโมพอลิเมอร์ของเมทาคริเลตเอสเทอร์ หรือโคพอลิเมอร์ของเมทาคริเลต ได้แก่
– เมทิลเมทาคริเลต, CH2=C(CH3)COOCH
– เอทิลเมทาคริเลต, CH2=C(CH3)COOC2H5
– นอร์มอล-บิวทิวเมทาคริเลต, CH2=C(CH3)COO-(n-C4H9)
– ไอโซบิวทิวเมทาคริเลต, CH2=C(CH3)COO-(i-C4H9)
– ลอริลเมทาคริเลต, CH2=C(CH3)COOC12H25
– เมทิลอะคริเลต, CH2=C(CH3)COOCH3
– นอร์มอล-บิวทิวอะคริเลต, CH2=C(CH3)COOC4H9

2. อะคริลิคเหลว เป็นอะคริลิคที่อยู่ในรูปสารละลายที่ผลิตได้จากกระบวนการพอลิเมอร์ไรเซชันแบบสารละลาย
3. อะคริลิคอิมัลชัน ใช้เป็นส่วนผสมของสีทาบ้าน มักผลิตในลักษณะของลาเท็กซ์

การใช้ประโยชน์

อะคริลิคเหลว และอิมัลชันอะคริลิค
มักใช้เป็นสารตั้งต้นในกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับพลาสติก และใช้เป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น สี สารเคลือบวัสดุ เป็นต้น

แผ่นอะคริลิคหรือพลาสิกอะคริลิค
เป็นผลิตภัณฑ์ของอะคริลิคของแข็งที่ถูกขึ้นรูปให้มีลักษณะเป็นแผ่น อาจเป็นแผ่นใสหรือแผ่นมีสีต่างๆ นิยมใช้งานมากในภาครัวเรือน เช่น ทำป้าย ทำเครื่องตกแต่งบ้าน วัสดุตกแต่งบ้าน ชั้นโชว์ ตู้เลี้ยงปลา ถังขยะ ของเด็กเล่น กรอบรูป กล่อง เป็นต้น

กล่องอะคริลิค

สำหรับภาคอุตสาหกรรมมีการใช้ประโยชน์จากแผ่นอะคริลิค เช่น อุตสาหกรรมประกอบรถยนต์ อุตสาหกรรมขึ้นรูป และผลิตสิ้นส่วนพลาสติก เป็นต้น

การหาซื้อสามารถซื้อได้ตามร้านเครื่องเขียน ร้านพลาสติก ทั่วไป หรือสั่งชื้อจากร้านค้าที่ประกาศตามอินเตอร์เน็ต มีราคาตั้งแต่หลักสิบบาทถึงหลักพันบาท ขึ้นอยู่กับขนาด สี ลักษณะเฉพาะของพลาสติกอะคริลิคแต่ละผลิตภัณฑ์

แผ่นอะคริลิคหรือพลาสติกอะคริลิก

การผลิตแผ่นอะคริลิกด้วยเทคนิคนี้ สามารถผลิตได้ในหลายลักษณะทั้งผลิตภัณฑ์ ที่โปร่ง
แสงและทึบแสง สามารถผลิตได้หลากหลายสี และมีผิวหน้าหลายรูปแบบทั้งมันและไม่มัน

สมบัติทั่วไปของแผ่นอะคริลิก
– มีความโปร่งใสคล้ายกระจก
– ทนทานต่อแรงกระแทก แรงกด และสภาพแวดล้อมดินฟ้าอากาศ
– ทนทานต่อสารเคมีหลายชนิด ยกเว้นสารตัวทำละลาย และกรดที่ส่วนมากมีผลต่ออะคริลิค รวมถึงด่างแก่ทุกชนิด
– สามารถเติมแต่งด้วยสี ให้มีสีสันได้ตามความต้องการ
– มีจุดอ่อนตัวต่ำ ทนต่อความร้อน และมีความเหนียว
– มีสภาพคงรูปที่ดี และทนต่อการขีดข่วน
– เป็นฉนวนไฟฟ้า และฉนวนป้องกันความร้อนที่ดี
– ไม่ดูดความชื้น

การผลิตแผ่นอะคริลิค

แผ่นอะคริลิคหรือพลาสติกอะคริลิค ผลิตได้จากอะคริลิคของแข็งด้วยกระบวนการการหล่อ สามารถทำได้ 2 วิธี ได้แก่
– กระบวนการหล่อแบบต่อเนื่อง (Continuous Casting
Process)
– กระบวนการหล่อแบบไม่ต่อเนื่อง (Batch Casting Process) เช่น กระบวนการหล่อแบบเซลล์ (cell casting process)

ความแตกต่างของทั้งสองวิธี คือ กระบวนการหล่อแบบต่อเนื่องจะเกิดในขั้นตอนลำเลียงของสายพานสองเส้นที่กำลังเคลื่อนที่ ส่วนกระบวนการหล่อแบบไม่ต่อเนื่องจะเกิดในเบ้าหล่อหรือในแม่พิมพ์

สารเคมีที่มีผลต่ออะคริลิค

สารเคมีที่มีผลรุนแรงอะคริลิค
– กรดไฮโดรคลอริก 40%
– กรดไฮโดรฟลูออริก 40%
– กรดไนตริก 40%
– กรดซัลฟูริก 98%
– ด่างแก่ทุกชนิด
– คลอโรฟอร์ม
– ไตคลอโรอีทิลลีน
– เมทิลลีนคลอไรด์
– คาร์บอนเตตระคลอไรด์
– อะซิโตน
– เมทิล
– เอทิล
– คีโตน
– โทลูอีน

สารเคมีที่มีผลน้อยต่ออะคริลิค
– กรดอะซิตริก 5%
– กรดโครมิก 40%
– กรดซิตริก 10%
– กรดไฮโดรฟลูออริก 10%
– กรดไนตริก 10%
– กรดซัลฟูริก 30%
– แอมโมเนียมไฮดรอกไซด์ 28%
– โซเดียมคาร์บอเนต 20%
– โซเดียมไฮดรอกไซด์ 60%