ไม้ขีดไฟ ประโยชน์ และอันตรายจากไม้ขีดไฟ

19444

ไม้ขีดไฟ ถือเป็นสินค้าที่ครัวเรือนมีความจำเป็นต้องใช้สำหรับการก่อไฟ ถึงแม้ปัจจุบันจะมีสินค้าชนิดอื่นที่ง่ายต่อการใช้ และหาซื้อง่าย เช่น ไฟแช๊ค เข้ามาแทนที่ แต่ไม้ขีดไฟก็ยังมีการใช้อยู่ในบางครัวเรือน โดยเฉพาะครัวเรือนที่อยู่ห่างไกลจากชุมชนเมือง เนื่องจาก มีราคาถูกกว่า และใช้งานได้ง่าย

ประวัติไม้ขีดไฟ
ไม้ขีดไฟ ถูกค้นพบครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2370 ซึ่งค้นพบหลังจากการค้นพบไฟแช็กประมาณ 4 ปี โดยนักเคมีชาวอังกฤษ ชื่อ จอห์น วอลเคอร์ ที่ได้ทดลองนำเศษไม้ไปจุ่มในสารผสมของแอนติโมนีซัลไฟด์โปตัสเซียมคลอเรต กับ กาวที่ทำจากยางไม้ แล้วนำไปตากแห้ง ก่อนนำไปขีดกับกระดาษทรายจนเกิดประกายลุกเป็นไฟขึ้น ซึ่งถือเป็นไม้ขีดไฟชนิดที่ขีดกับวัสดุอะไรก็ติดไฟได้

ต่อมาปี พ.ศ. 2373 ชาร์ลส์ โซเรีย ชาวฝรั่งเศส ได้นำฟอสฟอรัสเหลืองหรือขาวมาเป็นส่วนผสมทำหัวไม้ขีดไฟ แต่ต่อมาพบว่า ฟอสฟอรัสเหลืองหรือขาว เมื่อติดไฟแล้วจะปล่อยควันพิษออกมา ทำให้มีกรณีผู้ป่วยที่ได้รับควันพิษจนถึงขั้นเสียชีวิต

ต่อมาในปีพ.ศ. 2383 จอห์น ลันสตรอม ชาวสวีเดน ได้คิดค้นนำฟอสฟอรัสแดงมาใช้เป็นส่วนจุดติดไฟเพราะก่อควันพิษได้น้อยกว่า โดยใช้โปตัสเซียมคลอเรตเป็นฟัวไม้ขีดไฟ และใช้ฟอสฟอรัสแดงเคลือบติดด้านข้างกล่องไม้ขีดสำหรับขูดกับโปตัสเซียมคลอเรตเพื่อให้คิดไฟ ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่ใช้สำหรับผลิตไม้ขีดไฟมาจนถึงปัจจุบัน และมีการผสมกำมะถันเข้าไปด้วยเพื่อให้เกิดการจุดติดที่ลุกเป็นเปลวไฟ และลุกเป็นเปลวไฟได้นานขึ้น

ไม้ขีดไฟในประเทศไทย
การรูจักไม้ขีดไฟในประเทศไทย เริ่มต้นในช่วงสมัยรัชกาลที่ 4 ที่บาทหลวงศาสนาคริสต์นำไม้ขีดไฟจากประเทศสวีเดนเข้ามาใช้ และเผยแพร่ให้เป็นที่รู้จัก

ต่อมาในปี พ.ศ. 2471 ประเทศไทยได้ตั้งโรงงานผลิตไม้ขีดไฟแห่งแรกขึ้น ชื่อโรงงานไม้ขีดไฟมินแซ บริเวณตำบลสะพานเหลือง ถนนพระราม4 กรุงเทพฯ และในปี พ.ศ. 2476 จึงได้ตั้งโรงงานไม้ขีดไฟมินแซขึ้นเป็นแห่งที่ 2 ขึ้นที่ตำบลวัดญวนสะพานขาว อำเภอป้อมปราบ กรุงเทพฯ ต่อมาจึงเริ่มมีโรงงานไม้ขีดไฟเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ ในช่วงแรก โรงงานไม้ขีดไฟจะตั้งอยู่ในเมืองกรุงเทพฯ แต่รัฐบาลเล็งเห็นว่า โรงงานไม้ขีดไฟมีความเป็นอันตรายสูง จึงสั่งย้ายโรงงานทั้งหมดให้ออกไปตั้งในแถบจังหวัดซานเมืองทั้งหมด

%e0%b9%84%e0%b8%a1%e0%b9%89%e0%b8%82%e0%b8%b5%e0%b8%94%e0%b9%84%e0%b8%9f

รายชื่อโรงานไม้ขีดไฟในยุคแรกเริ่ม
1. บริษัท ไม้ขีดไฟมินแซ จำกัด ตั้งที่ กรุงเทพฯ
– ตราปลาแดง
– ตรามินแซแดง
– ตรามินแซเหลือง
– ตรานกแก้ว
– ตรารถยนต์
– ตราสิงห์โต

2. บริษัท ไม้ขีดไฟตังอา จำกัด ตั้งที่ กรุงเทพฯ และย้ายไปที่ จ.ปทุมธานี
– ตรากวางตุ้ง
– ตราตังอา
– ตราจระเข้
– ตรากระรอก
– ตราตะเกียง
– ตราเรือหงษ์

3. บริษัท ไม้ขีดไฟไทย จำกัด ตั้งที่ กรุงเทพฯ
– ตรามินกวง
– ตราปืนคู่ (นิยมในภาคอีสาน)
– ตราพญานาค (นิยมในภาคกลาง)
– ตราพญานาคพิเศษ
– ตราเรือกำปั่น
– ตราสตางค์ (นิยมในภาคเหนือ)
– ตรานักมวย (นิยมในภาคใต้)

4. บริษัท ไม้ขีดไฟชลบุรี จำกัด ตั้งที่ จ.ชลบุรี
– ตราน่ำฮึง
– ตราโตฮก
– ตราบ้านฮ่วย
– ตราพระอาทิตย์
– ตราหนุมาน
– ตราหนุมานพิเศษ

5. บริษัท เอเชียไม้ขีดไฟ จำกัด ตั้งที่ จ.ชลบุรี
– ตราอาจิว
– ตราไผ่ป๊อก
– ตราเรือใบ
– ตรานางเงือก
– ตราอักษรไทย
– ตราชาวนา
– ตราเรือไวกิ้ง
– ตราเรือใบพิเศษ

6. บริษัท ไม้ขีดไฟกรุงเทพ จำกัด ตั้งที่ กรุงเทพฯ
– ตราไต้ทง
– ตราขีก่าย
– ตราม้าบิน
– ตรานกนางนวล
– ตราปูแดง
– ตรากินนร

7. บริษัท สหบูรพาไม้ขีดไฟ จำกัด ตั้งที่ กรุงเทพฯ
– ตรากวงเม้ง
– ตราตันฮึง
– ตรารถม้า
– ตราแรด
– ตราหมีขาว
– ตราเฮ่งเจีย

8. บริษัท ไม้ขีดไฟภาคใต้ จำกัด ตั้งที่ จ.สงขลา
– ตราซังฮี้ (พื้นสีน้ำเงิน)
– ตราหนำอา
– ตรานักมวยคู่
– ตราปลา
– ตราปู
– ตราวัวขน

9. บริษัท โรงงานไม้ขีดไฟอุดร จำกัด ตั้งที่ จ.อุดรธานี
– ตราซังฮี้ (พื้นสีน้ำเหลือง)
– ตราดาวเทียม
– ตราตังบัก
– ตรารถไฟ
– ตราโชคดี
– ตรามหาโชค
– ตราอิสาน
– ตรา เร โอ แวค
– ตรากระต่าย
– ตรา lucky

10. บริษัท สากลไม้ขีดไฟ จำกัด ตั้งที่ จ.ขอนแก่น
– ตราก๊กจี่

11. องค์การคลังสินค้า
– ตราโชคดี

ที่มา : 1), 2)

องค์ประกอบไม้ขีดไฟ
1. หัวไม้ขีด
หัวไม้ขีดมีลักษณะเป็นก้อนกลมที่ประกอบด้วยโปตัสเซียมคอเรต ผสมกับกำมะถัน และกาว เพื่อให้ยึดเกาะกันเป็นก้อน

%e0%b8%ab%e0%b8%b1%e0%b8%a7%e0%b9%84%e0%b8%a1%e0%b9%89%e0%b8%82%e0%b8%b5%e0%b8%94%e0%b9%84%e0%b8%9f

2. ก้านไม้ขีด
ก้านไม้ขีดไฟ เป็นส่วนที่ทำจากไม้เนื้ออ่อน ได้แก่ ไม้ปอชนิดต่างๆ ไม้อ้อยช้าง ไม้งิ้ว ไม้มะยมป่า ไม้กระทุ่มบก ไม้มะกอก และไม่นางปรน เป็นต้น

นอกจากนี้ มีการทดลองนำไม้ยางพารามาเป็นวัตถุดิบผลิตก้านไม้ขีด แต่จากการสำรวจผู้ประกอบการ พบว่า ไม้ยางพารายังมีคุณสมบัติไม่ดีพอ อาทิ
– ลำต้นมีขนาดเล็ก เมื่อปอกเปลือกแล้วมีแก่นไม้เหลือน้อย ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน
– ลำต้นไม่ค่อยกลม ลำต้นมีปุ่ม และตามาก
– เนื้อไม้ผ่าเป็นแผ่นได้ดี แต่มีปัญหาขึ้นราได้ง่าย
– หลังจากนำแผ่นไม้มาตากแห้ง มักเกิดการปิดงอ

ที่มา : 3)

3. กล่อง/กลักไม้ขีด
กล่องไม้ขีดหรือกลักไม้ขีด แต่ก่อนนั้นทำด้วยไม้เช่นเดียวกัน ซึ่งจะเพลาเป็นแผ่นบางๆ และขีดร่องสำหรับพับเป็นตัวกลัก และลิ้นสอดกลัก หลังจากนั้น นำไปตากให้เพื่อให้อยู่ทรงในรูปกล่อง ก่อนจะปิดด้วยกระดาษด้านนอก ทั้งนี้ ปัจจุบัน บริษัทผู้ผลิตได้หันมาใช้กล่องกระดาษแทน ซึ่งง่ายต่อการผลิต และประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก

%e0%b9%84%e0%b8%a1%e0%b9%89%e0%b8%82%e0%b8%b5%e0%b8%94%e0%b9%84%e0%b8%9f%e0%b8%aa%e0%b8%a1%e0%b8%b1%e0%b8%a2%e0%b8%81%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%99

สำหรับด้านข้างกล่องหรือกลักไม้ขีดทั้งสองด้านจะถูกเคลือบด้วยฟอสฟอรัสแดงในลักษณะเป็นปุ่มตาข่ายสำหรับใช้หัวไม้ขีดขูดเพื่อให้ลุกติดไฟ นอกจากนั้น ยังมีการผสมสารอื่นเข้าไปด้วย อาทิ ผงแก้ว, โปตัสเซียมไดโครเมต, แอนติโมโนซัลไฟด์, ผงถ่าน และกาว เพื่อให้เกิดความฝืดขณะขูด

กระบวนการผลิตไม้ขีดไฟ
1. นำไม้สดมาปอกเปลือกให้เหลือเฉพาะแก่นไม้ ก่อนจะนำมาเพลาให้เป็นแผ่นบางๆ หนาประมาณ 2 มิลลิเมตร แล้วนำไปผ่าเป็นเส้นหรือเป็นก้านขนาดด้านกว้างเท่ากันที่ 2 มิลลิเมตร และยาว 5 เซนติเมตร ก่อนจะนำไปแช่น้ำประสานทอง แล้วนำไปอบด้วยควันกะมะถันเพื่อกำจัด และป้องกันมอด ก่อนนำออกผึ่งแดดให้แห้ง
2. นำก้านไม้ขีดเข้าเครื่องขัดก้าน เพื่อกำจัดเสี้ยนหรือขนไม้เล็กออก พร้อมกับคัดก้านที่ได้ขนาดแยกออก
3. นำก้านไม้ขีดเข้าชุบขี้ผึ้งพาราฟินเพื่อป้องกันไม่ให้ไฟติดก้านไม้ขีดได้ง่าย และอบแห้งอีกครั้ง
4. นำก้านไม้ขีดเข้าชุบหัวไม้ขีด ก่อนนำไปอบแห้ง
5. นำก้านสุดท้ายนำเข้าบรรจุในกลักหรือกล่องไม้ขีด

ประโยชน์ และข้อดีไม้ขีดไฟ
1. เป็นวัสดุที่ใช้สำหรับจุดติดไฟเพื่อการหุงหาอาหาร
2. สามารถจุดติดไฟได้ง่าย
3. สามารถพกพาได้สะดวก
4. มีราคาถูก

%e0%b9%84%e0%b8%a1%e0%b9%89%e0%b8%82%e0%b8%b5%e0%b8%94%e0%b9%84%e0%b8%9f1

ข้อเสีย และอันตรายจากไม้ขีดไฟ
1. ไม้ขีดไฟ เมื่อขูดกับกลัก และลุกติดไฟจะปล่อยควันพิษออกมา เมื่อสูดดมจะได้กลิ่นฉุน และระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ ทำให้แสบคัน และเกิดอาการไอ และหากสัมผัสกับตาจะทำให้ตาระคายเคือง เกิดอาการแสบคันตา
2. ไม้ขีดไฟมักเสื่อมสภาพได้ง่าย ไม่สามารถจุดติดไฟได้ ทั้งกล่อง และหัวไม้ขีด โดยเฉพาะเมื่อสัมผัสกับน้ำหรือไอน้ำ ดังนั้น จำเป็นต้องเก็บในที่ร่มให้ห่างจากน้ำหรือน้ำฝนตลอด
3. สามารถลุกติดไฟได้ หากอยู่ใกล้แหล่งความร้อน

เอกสารอ้างอิง
untitled