ไซลีน (xylene)

34805

ไซลีน (xylene) เป็นสารประกอบที่มีการใช้มากในอุตสาหกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับสี สารเคลือบเงา และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับตัวทำละลายต่างๆ ถือเป็นสารอินทรีย์ระเหยง่ายที่มีพิษต่อมนุษย์

คุณลักษณะเฉพาะ
– มีสถานะเป็นของเหลว กลิ่นหอมฉุนเล็กน้อย (ทั้ง 3 ชนิด)
– สูตรเคมี C8H10 (ทั้ง 3 ชนิด)
– สูตรโมเลกุล C6H4(CH3)2 (ทั้ง 3 ชนิด)

ไซลีน เป็นสารประกอบที่มีหลายไอโซเมอร์หรือมีตำแหน่งการจับกันของพันธะได้หลายตำแหน่ง (ไอโซเมอร์) ด้วยการจับตำแหน่งของคาร์บอน และไฮโดรเจนในตำแหน่งของวงแหวนอะโรมาติก แบ่งเป็น 3 ชนิด ตามระบบของ IUPAC คือ

1. ออโธ-ไซลีน (O-Xylene) (1, 2 dimethylbenzene) เป็นไซลีนชนิดที่อะโรมาติคไฮโดรคาร์บอนมีพันธะของหมู่เมธิล 2 หมู่ กับคาร์บอนอะตอมในตำแหน่งที่ 1 และ2 บนวงแหวนเบนซีน
– จุดหลอมเหลว -25.2 องศาเซลเซียส
– จุดเดือด 144.4 องศาเซลเซียส
– จุดวาบไฟ 17 องศาเซลเซียส
– อุณหภูมิที่ติดไฟได้เอง 465 องศาเซลเซียส
– ความหนาแน่น 0.876 กรัม/ลบ.ซม.
– ความหนาแน่นไอ 3.66
– ความดันไอ 5 มม. ปรอท
– ไม่ละลายละลายน้ำ
– ละลายได้ดีในเอทิลแอลกอฮอล์
– ไม่มีชีวิตของการระเหยในน้ำ 5.61

ไซลีน

2. เมตา-ไซลีน (M-Xylene) (1, 3 dimethylbenzene) เป็นไซลีนชนิดที่อะโรมาติคไฮโดรคาร์บอนมีพันธะของหมู่เมธิล 2 หมู่ กับคาร์บอนอะตอมในตำแหน่งที่ 1 และ3 บนวงแหวนเบนซีน จุดหลอมเหลว
– จุดหลอมเหลว -47.9 องศาเซลเซียส
– จุดเดือด 139.1 องศาเซลเซียส
– จุดวาบไฟ 31 องศาเซลเซียส
– อุณหภูมิที่ติดไฟได้เอง 525 องศาเซลเซียส
– ความหนาแน่น 0.860 กรัม/ลบ.ซม.
– ความหนาแน่นไอ 3.66
– ความดันไอ 6 มม. ปรอท
– ไม่ละลายละลายน้ำ
– ละลายได้ดีในเอทิลแอลกอฮอล์
– ไม่มีครึ่งชีวิตของการระเหยในน้ำ

3. พารา-ไซลีน (P-Xylene) (1, 4 dimethylbenzene) เป็นไซลีนชนิดที่อะโรมาติคไฮโดรคาร์บอนมีพันธะของหมู่เมธิล 2 หมู่ กับคาร์บอนอะตอมในตำแหน่งที่ 1 และ4 บนวงแหวนเบนซีน
– จุดหลอมเหลว 13.39 องศาเซลเซียส
– จุดเดือด 138.3 องศาเซลเซียส
– จุดวาบไฟ 30 องศาเซลเซียส
– อุณหภูมิที่ติดไฟได้เอง 525 องศาเซลเซียส
– ความหนาแน่น 0.857 กรัม/ลบ.ซม.
– ความหนาแน่นไอ 3.66
– ความดันไอ 6.5 มม. ปรอท
– ไม่ละลายละลายน้ำ
– ละลายได้ดีในเอทิลแอลกอฮอล์
– ไม่มีครึ่งชีวิตของการระเหยในน้ำ

4. ไซลีนผสม (Mixed-Xylene)
– จุดหลอมเหลว 25.0 องศาเซลเซียส
– จุดเดือด 140.5 องศาเซลเซียส
– จุดวาบไฟ 29 องศาเซลเซียส
– ความหนาแน่น 0.857 กรัม/ลบ.ซม.
– ความหนาแน่นไอ 3.66
– ครึ่งชีวิตของการระเหยในน้ำ 5.61

สูตรไซลีน

ประโยชน์ไซลีน
– ใช้ในการผลิตอุตสาหกรรมพลาสติก และผลิตเส้นใยสังเคราะห์
– ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต benzoic acid, phthatic anhydride และdimethylterephthalate
– ใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตทินเนอร์ แลคเกอร์ สี วาร์นิช หมึกพิมพ์ กาว เรซิน ยาง น้ำยาทำความสะอาด และยา
– ใช้สำหรับฟอกสีในอุตสาหกรรมกระดาษ
– ใช้เป็นส่วนผสม และตัวทำละลายในยากำจัดศัตรูพืช
– ใช้สำหรับกระบวนการผลิตพลาสติกหรืออิเล็กทรอนิกส์สำหรับการลดคราบน้ำมัน
– เป็นส่วนผสมของน้ำมันเชื้อเพลิง

อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับไซลีน
– อุตสาหกรรมผลิตสี แลคเกอร์
– อุตสาหกรรมปิโตรเคมี
– อุตสาหกรรมผลิตพลาสติก
– อุตสาหกรรมเยื่อไม้ กระดาษ เฟอร์นิเจอร์
– อุตสาหกรรมรถยนต์ อู่ซ่อมรถ
– อุตสาหกรรมสารเคมีกำจัดศัตรูพืช กำจัดวัชพืช

ความเป็นพิษต่อมนุษย์
พิษเฉียบพลันของไซลีนจะรุนแรงกว่าโทลูอีน ส่วนพิษเรื้อรังพบว่ามีอาการเหมือนพิษเฉียบพลัน แต่อาจจะรุนแรงมากว่าในบางระบบร่างกาย โดยมีผลไปกดระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้เกิดอาการความจำเสื่อม หวาดกลัว กระวนกระวาย อ่อนเพลีย ปวดศรีษะ เบื่ออาหาร ทรงตัวลำบาก คลื่นไส้อาเจียน ผิวหนังแห้ง และเกิดโรคผิวหนัง มักพบเป็นโรคไตร่วมด้วย

มาตรฐานไซลีนในบรรยากาศ
– มาตรฐาน ASHRAE กำหนดที่ 435 มก./ลบ.ม.
– มาตรฐาน Ministry of health labour and welfare กำหนดที่ 870 มก./ลบ.ม.
– มาตรฐาน TLV-TWA 100 ppm