สารหนู/อาร์เซนิก ประโยชน์ และพิษสารหนู

33886

สารหนู (อาร์เซนิก/As) เป็นธาตุกึ่งโลหะที่มีจัดเป็นธาตุที่พบมากเป็นลำดับที่ 20 ของโลก เป็นสารที่ถูกนำมาใช้ประโยชน์มากในด้านต่างๆ อาทิ ยารักษาเนื้อไม้ ยาฆ่าแมลง ส่วนผสมในอาหารสัตว์ เช่น ในอาหารสุกร และไก่ เพื่อเร่งการเจริญเติบโต ใช้เป็นเซมิคอนดักเตอร์ หรือใช้เป็นส่วนประกอบของยารักษาโรค แต่ทั้งนี้ สารหนูก็เป็นสารมีพิษต่อมนุษย์เช่นกัน เช่น ทำให้ระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหาร เกิดอาการท้องร่วง อุจจาระเป็นเลือด เป็นต้น

คุณสมบัติทางเคมี
• น้ำหนักอะตอม : 74.9
• เลขอะตอม : 33
• จุดเดือด : 615 °C
• จุดหลอมเหลว : 818 °C
• เลขออกซิเดชันที่เสถียร 4 รูปแบบ : –3, 0, +3 และ +5 แต่เมื่อปนเปื้อนอยู่ในน้ำจะมี• เลขออกซิเดชันที่เสถียร 2 รูปแบบ คือ +3 และ +5

สารประกอบของสารหนู
1. สารประกอบอนินทรีย์ของสารหนู (Inorganic form)
สารหนูอนินทรีย์สามารถพบได้ในดินและสายแร่ผสมอยู่กับโลหะตัวอื่นๆ เช่น ในรูปของ Arsenopyrite (FeS2•FeAs2) และ Loellingite เป็นต้น เมื่อผ่านการถลุงแล้วจะได้เป็นแร่อาร์ซีนิก (Elemental arsenic) ที่ไม่มีความเป็นพิษและ Arsenic trioxide ที่สามารถปะปนกับฝุ่นละอองในสิ่งแวดล้อมได้ สารหนูอนินทรีย์สามารถแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
– สารประกอบเวเลนซ์สาม (Trivalent compound) เช่น Arsenic trioxide (As2O3) Sodium arsenite (NaAsO2) และ Arsenic trichloride (AsCl3) เป็นต้น
– สารประกอบเวเลนซ์ห้า (Pentavalent compound) เช่น Arsenic pentoxide (As2O5) และ Arsenic acid (H3AsO4) เป็นต้น

สารหนูทั้งสารประกอบเวเลนซ์สาม และสารประกอบเวเลนซ์ห้าส่วนใหญ่มักนำมาใช้เป็นส่วนผสมของสารกำจัดวัชพืช ยาฆ่าแมลง ยาเบื่อหนู สารป้องกันเนื้อไม้ ส่วนผสมของสีบางชนิดผงซักฟอก รวมถึงยาบางชนิด นอกจากนี้ยังพบว่า สารหนูอนินทรีย์ชนิดเวเลนซ์สามจะมีความเป็นพิษเฉียบพลันมากกว่าสารหนูอนินทรีย์ชนิดเวเลนซ์ห้า

2. สารประกอบอินทรีย์ของสารหนู (Organic form)
– สารหนูอินทรีย์ชนิดเวเลนซ์สาม (Trivalent, As3+) เช่น Trimethylarsine [(CH3)3As] Dimethylarsine [(CH3)2AsH] Monosodium methanearsonate (MSMA) และ Disodium methanearsonate (DSMA) ซึ่งสารประกอบเหล่านี้มักใช้เป็นส่วนประกอบในสารกำจัดวัชพืช และในรูปของ Thiacetarsamide (หรือ Sodium carpasolate) ซึ่งเคยมีการนำมาใช้รักษาโรคพยาธิในหัวใจของสุนัขเป็นต้น นอกจากนี้ยังพบว่าสารประกอบ MSMA, DSMA และ Thiacetarsamide สามารถก่ออาการพิษคล้ายคลึงกับพิษที่เกิดจากสารหนูอนินทรีย์
– สารหนูอินทรีย์ชนิดเวเลนซ์ห้า (Pentavalent, As5+) เช่น Dimethylarsenic acid Disodium methylarsenate Arsanilic acid Sodium arsanilate และ 3-Nitro, 4-hydroxypheylsonic acid มักถูกนำมาใช้เป็นสารเร่งการเจริญเติบโต โดยมากพบในอาหารไก่และสุกร เป็นต้น

3. แก๊สอาร์ซีน (Arsine, AsH3)
– Methylarsine : CH3AsH2
– Dimethylarsine : (CH3)2AsH
– Trimethylarsine : (CH3)3As
– Monomethylarsonic acid : CH3AsO(OH)2
– Monomethylarsenous acid : CH3As(OH)2
– Dimethylarsinic acid : (CH3)2AsO(OH)
– Dimethylarsenous acid : (CH3)2AsOH
– Trimethylarsinic oxide : (CH3)3AsO
– Tetramethylarsonium ion : CH3)4As+
– Arsenobetaine : (CH3)3As+CH2COO
– Arsenocholine : (CH3)As+CH2 CH2OH

อาร์เซนิก

ปฏิกิริยาสารหนูในธรรมชาติ
สารหนูมีเลขออกซิเดชันที่เสถียร 4 รูปแบบ ได้แก่ -3, 0, +3 และ +5 ซึ่งสารหนูที่มีเลขออกซิเดชันอยู่ในรูป +5 จะเกิดจากกระบวนการออกซิเดชัน ในขณะที่สารหนูที่อยู่ในรูปเลขออกซิเดชัน -3, 0 และ +3 จะเกิดจากกระบวนการรีดักชัน ซึ่งในธรรมชาติส่วนใหญ่พบว่า สารหนูจะเสถียรอยู่ในรูปเลขออกซิเดชันของไอออนบวก และสามารถเปลี่ยนไปอยู่ในรูปของสารประกอบในรูปอื่นได้ ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยในกระบวนการเกิดปฏิกิริยารีดอกซ์
1. กระบวนการออกซิเดชัน (Oxidation reaction)
เป็นกระบวนการผุกร่อนของหินที่มีสารหนูเจือปนอยู่ โดยจะเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันในสภาวะที่มีน้ำและออกซิเจน ทำให้เกิดสารหนูในรูปของสารประกอบอาร์ซีเนต (Arsenate, As(V)) ในสภาวะที่เป็นกรดหรือค่อนข้างเป็นกรดสารประกอบอาร์ซีเนตจะสามารถแพร่ออกไปได้ระยะไกล แต่หากอยู่ในสภาวะเป็นกลางหรือด่างสารประกอบอาร์ซีเนตจะเกิดปฏิกิริยาไฮโดรไลซิส ตกตะกอนร่วมกับออกไซด์ของเหล็กและอลูมิเนียม และเมื่อสารประกอบอาร์ซีเนตผ่านไปไปยังบริเวณที่มีอนุภาคของแร่บางชนิด ดินโคลน หรือสารที่มีลักษณะคล้ายเจล (Gel) จะสามารถเกิดกระบวนการดูดซับ และกระบวนการคีเลต (Chelation) เกิดการตกตะกอน และหากบริเวณดังกล่าว มีสารประกอบอินทรีย์จำพวกฮิวมิค (Humic) สะสมอยู่จะทำให้เกิดการสะสมของสารหนูและเกิดการตกตะกอน ด้วยกระบวนการ Organic binding [11] นอกจากนี้ยังพบว่า สารหนูที่มีเลขออกซิเดชัน 0 ส่วนมากจะเกิดจากปฏิกิริยาออกซิเดชันแล้วเปลี่ยนไปอยู่ในรูปของสารหนูที่มีเลขออกซิเดชัน +3 มากกว่า +5 โดยมีออกซิเจน(Oxygen, O2) เป็นปัจจัยสำคัญในกระบวนการเปลี่ยนแปลง

2. กระบวนการรีดักชัน (Reduction reaction)
กระบวนการนี้ในธรรมชาติจะเกิดอย่างช้าๆโดยมากเกิดจากกระบวนการย่อยสลายในดินหรือหิน น้ำพุร้อน ไอระเหยจากภูเขาไฟ ซึ่งดินหรือหินที่มีสารหนูปนเปื้อนอยู่จะถูกสลายด้วยน้ำที่มีสภาวะเป็นด่างหรือค่อนข้างเป็นด่าง สารประกอบของสารหนูที่เกิดจากกระบวนการนี้ มักจะอยู่ในรูปที่มีเลขออกซิเดชัน +3 เช่น AsH3, AsCl3, As2S3 ซึ่งสารประกอบเหล่านี้สามารถสลายตัวได้รวดเร็ว ภายใต้ตัวทำละลายทั้งสภาวะกรดและด่าง ตกตะกอนหรือสะสมปนอยู่กับตะกอนท้องน้ำ นอกจากนี้ สารประกอบของสารหนูบางชนิดสามารถแพร่กระจายตัวอยู่ในรูปของคอลลอยด์ (Colloid) มีลักษณะเป็นไอออนบวก ซึ่งอนุภาคดังกล่าว เมื่อพบกับอนุภาคของสารละลายที่มีลักษณะเป็นไอออนลบ ก็จะเกิดการทำปฏิกิริยาและตกตะกอนตามผิวหน้าดินหรือตะกอนท้องน้ำได้

นอกจากนี้ยัง พบว่า ในกระบวนการรีดักชัน สารหนูที่มีเลขออกซิเลขชัน +5 สามารถทำปฏิกิริยารีดักชันโดยกระบวนการทางเคมีหรือชีวภาพให้กลับเป็นสารประกอบสารหนูที่มีเลขออกซิเดชัน +3 ได้ แต่หากจะเปลี่ยนจากสภาพที่มีเลขออกซิเดชัน +5 เป็น 0 นั้นเป็นไปได้ยาก

การได้รับสารหนูเข้าสู่ร่างกาย
สารหนูสามารถเข้าสู่ร่างกายคนเรา ได้ทั้งทางผิวหนัง ทางเดินหายใจ ส่วนใหญ่จะเกิดจากการหายใจเอาฝุ่น ดินที่มีสารหนูปนเปื้อนเข้าไป การดูดซึมขึ้นอยู่กับขนาดฝุ่น และชนิดของสารหนูที่ปนเปื้อนในฝุ่น อีกทั้งสารหนูยังมีการปนเปื้อนในอาหารหลายชนิด ทั้งผัก ผลไม้ และเนื้อสัตว์ โดยเฉพาะสัตว์น้ำ เช่น กุ้ง ปลา เป็นต้น การดูดซึมสารหนู ขึ้นอยู่กับความสามารถในการละลายน้ำของสารหนูชนิดนั้นๆ การดูดซึมจะมีน้อยในช่องปาก และกระเพาะอาหาร แต่จะดูดซึมได้ดีในลำไส้เล็ก และการได้รับสารหนูผ่านทางผิวหนังส่วนใหญ่ เกิดจากการใช้ยารักษาโรค หรือการสัมผัสยากำจัดศัตรูพืช ที่มีสารหนูเป็นองค์ประกอบหรือการใช้แป้งทาแก้มที่มีสารหนูเป็นส่วนผสม (Arsenic paste) นอกจากนี้ สารหนูสามารถซึมผ่านทางรกได้ ทำให้เกิดการถ่ายทอดพิษของสารหนูระหว่างแม่และทารกในครรภ์

สารหนูเมื่อเข้าสู่ร่างกายจะถูกดูดซึมสู่กระแสเลือด ก่อนแพร่ไปยังอวัยวะต่างๆของร่างกาย และในที่สุดจะถูกขับออกจากร่างกายทางปัสสาวะ อุจจาระ แต่บางส่วนจะสะสมอยู่ในเล็บและเส้นผม

สำหรับการขับออทางลมหายใจ จะมีน้อยมาก เมื่อได้รับสารหนูในวันแรก จะถูกขับออกทางปัสสาวะร้อยละ 25 และหลังจากนั้น ร่างกายจะขับออกมาทางปัสสาวะ และอุจจาระเรื่อยๆ ภายใน 12 วัน ถ้าสารหนูถูกขับออกไม่หมด จะไปสะสมที่เส้นผม และกระดูก

การสลายตัวของแร่ที่มีสารหนู
สารหนูมักพบปนอยู่กับสายแร่ในรูปของสารประกอบซัลไฟด์ เช่น แร่อาร์ซีโนไพไรต์ Aobaltite Enargite Orpiment Realgar และ Proustite ซึ่งแร่เหล่านี้ เมื่อเกิดการผุกร่อนของหินหรือแร่ หรือมีการทำลายหินหรือแร่ดังกล่าวจะทำให้สารหนูเกิดการสัมผัสกับอากาศ และน้ำแล้วเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน จากนั้นสารหนูจะเกิดการเปลี่ยนไปอยู่ในรูปของสารประกอบอาร์ซีเนต ดังสมการด้านล่าง
4FeAsS (Arsenopyr ite) +13O 2+ 6H2O = 4FeSO + 4H3AsO4 สมการ 1
4AsS (Realgar)+11O2 +10H2 O = 4H2SO4 + 4HAsO4 สมการ 2
4As2S3 (Orpiment)+ O2 + 6H2O = 3H2SO4 + 2HAsO4 สมการ 3

อาร์ซีโนไพไรต์
แร่อาร์ซีโนไพไรต์

สารประกอบอาร์ซีเนตสามารถละลายน้ำได้ดี ในน้ำที่มีสภาวะความเป็นกรดสูง แต่หากน้ำมีสภาวะความเป็นกรดอ่อน เป็นกลาง หรือเป็นด่าง สารดังกล่าวจะเกิดการตกตะกอน โดยเกิดการดูดซับของสารประกอบอาร์ซีเนตกับสารประกอบของเหล็ก โคบอลด์ นิกเกิล ตะกั่วและสังกะสี จากนั้นจะเกิดการตกตะกอนกลายเป็นแร่ชนิดต่างๆ ดังสมการที่ 4-6
Fe(SO4)3 + 2H3AsO4 + 4H2O = 2Fe(AsO4).2H2O[Scorodi te]+ 3HSO4 สมการ 4
3CoSO4 + 2H3AsO4 +8H2O = Co3(AsO4).8H2O[Erythri te]+ 3HSO4 สมการ 5
3NiSO4 + 2H3AsO4 +8H2O = Ni(AsO4).8H2O[Annabergite]+3HSO4 สมการ 6

กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางเคมีของสารหนูจากสมการ 1-6 และปฏิกิริยาการตกตะกอน ทำให้สารประกอบสารหนูมีการสะสมอยู่ตามพื้นดิน ตะกอนท้องน้ำ และบริเวณอื่นๆ นอกจากนี้สารหนูที่พบในบริเวณดังกล่าว ยังสามารถกลับมาปนเปื้อนและขยายวงกว้างในสิ่งแวดล้อม โดยกระบวนการย่อยสลายของพวกจุลินทรีย์ต่างๆ เช่น แบคทีเรีย และเชื้อรา ได้อีกด้วย

ประโยชน์จากสารหนู
1. Lead arsenate
– สูตร : PbHAsO4
– การใช้ประโยชน์ : ยาฆ่าแมลง
2. Cupric arsenite
– สูตร : Cu(AsO2)2
– การใช้ประโยชน์ : สีย้อม
3. Cupric acetoarsenate Cu(C2H3O2)2•3
– สูตร: Cu(AsO2)2
– การใช้ประโยชน์ : ยาฆ่าแมลง
4. 3-nitro-4hydroxy phenylarsonic acid
– สูตร : C6H6AsNO6
– การใช้ประโยชน์ : เร่งการเจริญเติบโตของสัตว์
5. Arsenilic acid
– สูตร: C6H8AsNO3
– การใช้ประโยชน์ : เร่งการเจริญเติบโต และเป็นส่วนประกอบยารักษาสัตว์
6. Arsenic oxides
– สูตร : As2O3 และ As2O5
– การใช้ประโยชน์ : อุตสาหกรรมเครื่องแก้ว
7. Metallic arsenic
– สูตร : As
– การใช้ประโยชน์ : ผสมทำโลหะผสม
8. Arsenamide
– สูตร : C11H12AsNO5S2
– การใช้ประโยชน์ : ส่วนประกอบยารักษาสัตว์
9. Potassium arsenite
– สูตร : KAsO2
– การใช้ประโยชน์ : ยารักษาโรค
10. Arsenic sulfide
– สูตร : As4S4
– การใช้ประโยชน์ : ส่วนประกอบดอกไม้ไฟ
11. Gallium arsenide
– สูตร : GaAs :
– การใช้ประโยชน์ : เซมิคอนดักเตอร์
12. Diphenylchlorarsines
– สูตร : (C6H6)2AsCl
– การใช้ประโยชน์ : ส่วนประกอบอาวุธเคมี
13. Alkyldichlorarsines
– สูตร : RAsCl2
– การใช้ประโยชน์ : ส่วนประกอบอาวุธเคมี

ความเป็นพิษของสารหนู
สารหนูสามารถเข้าสู่ร่างกายคนเราได้โดยการสัมผัสทางผิวหนัง การหายใจ และการรับประทานอาหาร และน้ำดื่มที่มีการปนเปื้อนของสารหนู โดยส่วนใหญ่แล้ว พบว่า สารหนูเข้าสู่ร่างกาย จากการบริโภคอาหาร และเกิดการดูดซึมผ่านทางเดินอาหารมากว่าวิธีอื่น สารหนูเมื่อถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายจะถูกขจัดออกจากร่างกายอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ สารหนูส่วนมากประมาณร้อยละ 80-90 จะถูกขับออกจากร่างกายภายใน 2 วัน ผ่านการขับถ่ายทางปัสสาวะ

ความเป็นพิษของสารหนูขึ้นอยู่กับปริมาณสารหนูที่ได้รับ ความสามารถในการละลายของสารหนูในรูปของสารประกอบแต่ละตัว และสภาวะที่เสถียรของเลขออกซิเดชัน (Valence state) ของสารหนูชนิดนั้นๆ นอกจากนี้ พบว่า ปริมาณของสารหนูในรูปเลขออกซิเดชัน +3 (Trivalent forms) หรือ อาร์ซีไนต์ ในสัตว์ส่วนใหญ่มีค่าอยู่ในช่วง 1-25 mg/kg ส่วนปริมาณของสารหนูในรูปเลขออกซิเดชัน +5 (Pentavalent form) หรือ อาร์ซีเนต จะมีความเป็นพิษน้อยกว่าอาร์ซีไนต์ โดยทั่วไปอาการพิษที่เกิดจากสารหนูอนินทรีย์ มักจะพบในลักษณะของอาการเฉียบพลันมากกว่าอาการการเกิดพิษเรื้อรัง

อาการที่ได้รับพิษจากสารหนู
การรับสารหนูเข้าสู่ร่างกายสามารถรับได้ 3 ทาง คือ สัมผัสสารหนูทางผิวหนัง ทางเดินหายใจ และทางการกินอาหารที่มีการปนเปื้อนสารหนู ซึ่งอาการที่ได้รับพิษของสารหนูแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1. แบบเฉียบพลัน (Acute Toxicity) ถ้าเกิดจากการกิน ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร ลำไส้ คลื่นไส้อาเจียน และท้องร่วง ในคนไข้ที่มีอาการรุนแรงอุจจาระอาจมีเลือดปน คนไข้จะอ่อนเพลีย อาจเกิดอาการช็อก และเสียชีวิตได้
2. แบบเรื้อรัง (Chronic Toxicity) ถ้าเกิดจากการกินหรือหายใจจะมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ ระบบทางเดินอาหารผิดปกติ ตับอาจถูกทำลาย นอกจากนี้อาจมีอาการทางผิวหนัง ทำให้เกิดการเปลี่ยนสีของผิวหนัง ทำให้หนังด้าน อาการนูนบวมแข็งอาจจะเป็นสาเหตุของมะเร็งที่ผิวหนังได้ นอกจากนี้ ยังทำให้เกิดความผิดปกติของระบบขับเหงื่อ และทำให้เกิดเนื้อตายบริเวณนิ้ว

กระบวนการกำจัดสารหนู
1. Coagulation and Flocculation
เป็นกระบวนการที่เติมสารโคแอกกูแลนด์ (Coagulant) ลงไปเพื่อทำปฏิกิริยากับประจุบนผิวของสารคอลลอยด์ (Colloid) ในแต่ละอนุภาค ทำให้แรงยึดเหนี่ยวที่ทำให้อนุภาคแต่ละตัวที่แยกกันอยู่ อ่อนลง จากนั้นอนุภาคดังกล่าวเกิดการจับตัวเกาะกันเป็นก้อนที่มีขนาดใหญ่ขึ้น จนเกิดเป็นตะกอนขนาดเล็ก เรียกว่า กระบวนการ
Coagulation จากนั้นตะกอนเล็กๆเหล่านั้นจะเกิดการจับตัวกันเป็นตะกอนที่มีขนาดใหญ่ขึ้นจนสามารถตกตะกอนได้ เรียกว่า กระบวนการ Flocculation

2. กระบวนการดูดซับ
เป็นกระบวนการที่อาศัยความสามารถของสารในการดึงโมเลกุลของสารปนเปื้อนที่อยู่ในของเหลวหรือแก๊ส ให้มาเกาะจับบนพื้นผิวของสารดูดซับ ซึ่งสามารถแบ่งกระบวนการดูดซับออกมี 2 แบบ คือ การดูดซับทางกายภาพ (Physical adsorption) และการดูดซับทางเคมี (Chemical adsorption)

3. กระบวนการแลกเปลี่ยนไอออน(Ion exchange)
เป็นกระบวนการแลกเปลี่ยนชนิดของไอออน แต่ปริมาณของไอออนยังคงเดิม ซึ่งในการกำจัดสารหนูส่วนมากมักใช้ Ion exchanger resin โดยที่บริเวณแลกเปลี่ยน มักเคลือบด้วยไอออนของคลอไรด์

4. Oxidation with Ozone
เป็นกระบวนการเติมโอโซนลงในน้ำ ที่มีไอออนของเหล็กและสารหนูละลายอยู่ เพื่อทำการออกซิไดซ์ทั้งสารหนูและไอออนของเหล็ก โดยเมื่อเกิดการออกซิไดซ์แล้ว ไอออนของเหล็กจะอยู่ในรูปของ Ferric
hydroxide ซึ่งมีคุณสมบัติในการดูดซับสารหนูได้

5. Membrane filtration
เป็นกระบวนการใช้เยื่อเลือกผ่านทำการแยกสารหนูออกจากน้ำ ซึ่งกระบวนการนี้มีความจำเพาะเจาะจงในการทำปฏิกิริยาสูง (High selectivity) เยื่อเลือกผ่านแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ Microfiltration Ultrafiltration Nanofiltration และ Hyper filtration หรือ กระบวนการรีเวิสออสโมซิส

6. กระบวนการตกตะกอน(Precipitation)
เป็นกระบวนการเติมสารเคมีเข้าไป เพื่อทำการจับสารหนูให้อยู่ในรูปของสารประกอบ และเกิดการตกตะกอน โดยสามารถแบ่งออกเป็น 4 กระบวนการ ได้แก่
6.1 Alum precipitate
เป็นกระบวนการที่สามารถกำจัดของแข็งและโลหะที่ปนเปื้อนในสารละลายได้ นอกจากนี้ยังสามารถกำจัดสารหนูที่ปนเปื้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย โดยการใช้สารออกซิไดซ์ประเภทคลอรีน (Chlorine)
6.2 Iron precipitate
เป็นกระบวนการใช้สารประเภทไอออนเหล็กมาทำการจับสารหนูให้อยู่ในรูปตะกอนของสารประกอบ เช่น Iron oxyhydroxide ที่อยู่ในรูปของสลัด (Sludge)
6.3 Lime softening
เป็นกระบวนการกำจัดสารประเภทน้ำกระด้าง ได้แก่ แคลเซียมและแมกนีเซียมไอออน ซึ่งสำหรับกระบวนการนี้เมื่อใช้ในการกำจัดสารหนูจะประกอบไปด้วย 2 ขั้นตอน คือขั้นตอนของการกำจัดสารหนู และตามด้วยขั้นตอนในการกำจัดน้ำกระด้าง
6.4 Combined with iron (and manganese)
เป็นกระบวนการกำจัดเหล็ก และแมกนีเซียมจากน้ำ โดยการใช้กระบวนการ ออกซิไดซ์เหล็ก และแมกนีเซียม จากรูปของสารละลาย (วาเลนซ์ +2) ให้อยู่ในรูปของวาเลนซ์ที่มากกว่า +2 เพื่อทำให้เหล็กและแมกนีเซียมสามารถจับอยู่ในรูปของสารประกอบและเกิดการตกตะกอนพร้อมกับสารหนู และสามารถกรองออกจากน้ำได้

7. Biogical remediation and biological treatment
เป็นกระบวนการใช้สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กในการกำจัดสารหนู และและสารประเภทโลหะบางชนิด เช่น ทองแดง สังกะสี นิกเกิ้ล เหล็ก อลูมิเนียม และแมกนีเซียม เป็นต้น ซึ่งสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่ใช้มักเป็นประเภทของ Anarobic ซึ่งจัดเป็นสิ่งมีชีวิตที่ใช้ออกซิเจนในกระบวนการย่อยสลาย อาทิเช่น ในงานวิจัยของ Jong และ Parry ใช้ Anarobic packed bed reactor ซึ่งประกอบด้วย Sulfatereducing bacteria เป็นตัวกำจัดสารหนู

ที่มา : พิชญ์นิภา ขวัญเผือก, (2556) อ้างถึงในเอกสารหลายฉบับ(1)

เอกสารอ้างอิง
1.พิชญ์นิภา ขวัญเผือก, 2556. การดูดซับสารหนูด้วยสารดูดซับที่สังเคราะห์จากเปลือกหอยนางรม.