วิตามินบี (Vitamin B) ทุกชนิด

16766

วิตามินบี (Vitamin B) เป็นกลุ่มของวิตามินที่ละลายได้ในสารละลายมีขั้ว เช่น น้ำ และแอลกอฮอล์ เป็นวิตามินที่มีบทบาทสำคัญในกระบวนเผาพลาญสารอาหารเพื่อให้พลังงาน การสร้างกล้ามเนื้อ การสร้างกระดูก การเสร้างเม็ดเลือด และระบบประสาท เป็นต้น

ชนิดวิตามิน บี
– วิตามินบี 1 (ไทอามีน : Thiamine)
– วิตามินบี 2 (ไรโบฟลาวิน : Riboflavin)
– วิตามินบี 3 (ไนอะซีน : Niacin)
– วิตามินบี 4 (อะดีนีน : Adinin)
– วิตามินบี 5 (กรดเพนโทเทนิก : Pantothenic acid)
– วิตามินบี 6 (ไพริด๊อกซิน : Pyridoxine )
– วิตามินบี 7 (ไบโอติน : Biotin)
– วิตามินบี 8 (อิโนซิทอล : Inositol)
– วิตามินบี 9 (กรดโฟลิก : Folic acid)
– วิตามินบี 10 (กรดพารา-อะมิโนเบนโซอิก : Para-aminobenzoic acid)
– วิตามินบี 11 (กรดซาลิซิลิก : Salicylic acid)
– วิตามินบี 12 (โคบาลามีน : Cobalamin)
– วิตามินบี13
(กรดออโรติก : Orotic Acid)
– วิตามินบี 14 (กรดพารา-อะมิโนเบนโซอิก : Para-aminobenzoic acid + กรดซาลิซิลิก : Salicylic acid)
– วิตามินบี 15 (กรดแพงเกมิก : Pangamic Acid)
– วิตามินบี 16 (ไดเมทิลไกลซีน : Dimethylgycine)
– วิตามินบี 17 (อะมัยดาลิน : Amygdalin)
– วิตามินบี 18 –
– วิตามินบี 19 –
– วิตามินบี 20 (คาร์นิทีน : Carnitine)
– วิตามินบี 21 –
– วิตามินบี 22 – (พบในสารสกัดว่านหางจระเข้)
– วิตามินบีเอช (Bh/B7/ไบโอติน : biotin)
– วิตามินบีเอ็ม Bm
– วิตามินบีพี Bp (Bp/โคลีน : Choline) –
– วิตามินบีที Bt (Bt/แอล-คาร์นิทีน : L-carnitine)
– วิตามินบีวี (Bv/อนุพันธุ์ของไพริด๊อกซิน : Pyridoxine)
– วิตามินบีดับบลิว (Bw/เป็นอนุพันธุ์ของไบโอติน : Biotin)
– วิตามินบีเอ็กซ์ (Bx/B14/กรดพารา-อะมิโนเบนโซอิก : para-Aminobenzoic acid)

vitamin-b

วิตามินบี 1 (ไทอามีน : Thiamine)
วิตามินบี 1 มีลักษณะเป็นผลึกสีขาว ละลายได้ดีในน้ำ ถูกดูดซึมบริเวณลำไส้ และผ่านเข้าสู่กระแสเลือด ในร่างกายสามารถพบวิตามินบี 1 ได้มากบริเวณ ตับ ไต หัวใจ และสมอง และกว่าร้อยละ 50 จะพบในบริเวณกล้ามเนื้อลาย

โมเลกุลของวิตามินบี 1 ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วน pyrimidine ring กับ thiazole ring ที่เชื่อมต่อกันด้วย methylene group

บทบาทหน้าที่ และสรรพคุณ
1. วิตมินบี 1 ทำหน้าที่ในปฏิกิริยาการเปลี่ยนคาร์โบไฮเดรต และโปรตีนให้อยู่ในรูปสารที่พร้อมให้พลังงานได้ ATP ซึ่งวิตามินบี 1 จะทำงานในรูปของโคเอนไซม์ ไทอะมีนไพโรฟอสเฟต (TPP)
2. ช่วยในการสังเคราะห์สารเคมีที่จำเป็นในการสร้างกรดนิวคลีอิก และไขมันที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย
3. กระตุ้นการทำงานของระบบประสาท และสมอง
4. ป้องกัน และรักษาโรคเหน็บชา จากที่ร่างกายขาดสารอาหารประเภทพลังงานหรือร่างกายไม่สามารถเปลี่ยนสารที่ให้พลังงานเป็นพลังงานแก่ร่างกายได้

ความต้องการของร่างกาย
วิตามินบี 1 จะพบได้ในอาหารประเภทแป้ง และน้ำตาล ดังนั้น ปริมาณวิตามินบี 1 ที่ร่างกายได้รับจะขึ้นกับปริมาณพลังงานแคลอรี่ที่ร่างกายได้รับจากอาหาร ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลกแนะนำสำหรับคนทุกวัย รวมถึงหญิงตั้งครรภ์ไว้ที่ 0.4 มิลลิกรัม/พลังงานที่ได้รับ 1000 กิโลแคลอรี่

สาเหตุการขาดวิตามินบี 1
สาเหตุการขาดวิตามินบี 1 มักเกิดจากการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ รวมถึงการได้รับสารที่ออกฤทธิ์ทำลายโครงสร้างวิตามินบี แบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่
– สารทำลายวิตามินบี 1 ชนิดทนความร้อน ได้แก่ สารในกลุ่มพอลิฟีนอล อาทิ แทนนิน และกรดคาเฟอิก (พบในชา เมี่ยง หมาก เป็นต้น)
– สารทำลายวิตามินบี 1 ชนิดไม่ทนความร้อน ได้แก่ กรดที่พบในอาหารประเภทปลาหมัก เช่น ปลาร้า ปลาจ่อม และน้ำบูดู เป็นต้น

การแก้ไขปัญหารการทำลายวิตามินบี 1 ของสารเหล่านี้ ด้วยการกินวิตามินบี 1 ระหว่างมื้ออาหาร และควรทำอาหารเหล่านี้ให้สุก

วิตามินบี 2 (ไรโบฟลาวิน : Riboflavin) รอเพิ่มเติมข้อมูล

วิตามินบี 3 (ไนอะซีน : Niacin)
วิตามินบี 2 หรือ ไนอะซีน (Niacin) เป็นโคเอนไซม์ที่สำคัญของฟลาโวโปรตีน ได้แก่ ฟลาวิน โมโรนิวคลีโอไทด์ (FMN) และ ฟลาวิน อะดีนิน ไดนิวคลีโอไทด์ (FAD) ทำหน้าที่สำคัญในการรับ และให้อิเล็กตรอนในปฏิกิริยาของวัฏจักรเครบส์ และเกี่ยวข้องกับการสร้างพลังงานให้แก่เซลล์ในร่างกาย

วิตามินบี 4 (อะดีนีน : Adinin) รอเพิ่มเติมข้อมูล

วิตามินบี 5 (กรดเพนโทเทนิก : Pantothenic acid)
วิตามินบี 5 หรือ กรดเพนโททินิค เป็นส่วนประกอบสำคัญของโคเอนไซม์ เอ ที่ทำหน้าที่สำคัญในปฏิกิริยาการการสังเคราะห์ และการสลายไขมัน

วิตามินบี 6 (ไพริด๊อกซิน : Pyridoxine )
ประวัติการค้นพบ
ค.ศ. 1934 Gyorgy ได้ทดลองใช้สารชนิดหนึ่งรักษาอาการผิวหนังอักเสบ โดยได้ตั้งชื่อสารนั้นว่า pyridoxine และในปี ค.ศ. 1936 มีการรวบรวม และจัดหมวดหมู่วิตามินบีชนิดต่างๆ ซึ่ง pyridoxine จัดเป็นวิตามินบีในลำดับที่หก หรือ วิตามินบี 6 มีชื่อทางเคมีว่า “2-methyl-3-hydroxy-5-hydroxymethylpyridine”

วิตามิน B6 ที่พบในธรรมชาติ 3 ชนิด ได้แก่ pyridoxine (PN), pyridoxamine (PM) และ pyridoxal (PL)

การดูดซึม การเผาผลาญ และการขับถ่ายยา
วิตามินบี 6 จะถูกดูดซึมที่ลำไส้เล็กบริเวณลำไส้ส่วนเจจูนัม (jejunum) pyridoxine ขนาด 100 มิลลิกรัม สามารถดูดซึมได้หมดที่เวลา 2 ชั่วโมง และมีครึ่งชีวิต (half-life) ประมาณ 8 ชั่วโมง หลังจากยาถูกดูดซึม หลังจากเข้าสู่กระแสเลือด pyridoxine จะเกิดปฏิกิริยา phosphorylation เปลี่ยนเป็น pyridoxyl-5-phosphate (PLP) และบางส่วนจะถูกทำลายที่ตับ

ความปลอดภัย
ผลิตภัณฑ์ยาหรืออาหารเสริมของวิตามินบี 6 โดยทั่วไปจะแนะนำขนาดรับประทานที่ 100 มิลลิกรัม/วัน ซึ่งไม่พบผลข้างเคียงแต่อย่างใด ส่วนผลข้างเคียงที่เกิดขึ้น ส่วนใหญ่เกิดจากรับประทานยาปริมาณมากกว่า 1000 มิลลิกรัม/วัน อาการที่พบ คือ มีอาการปวดตามกล้ามเนื้อ ปลายมือปลายเท้าชา และมีอาการเดินเซ ได้

สรรพคุณวิตามินบี 6
วิตามินบี 6 ใช้ป้องกัน และรักษาโรคหลายอย่าง อาทิ ใช้รักษาอาการผิดปกติทางระบบประสาท เช่น โรคออทิซึม (Autism) ใช้แก้อาการปวดหัมหรือมนเมาสุรา ใช้รักษาอาการวิงเวียนศีรษะ และรักษาโรคปลายมือปลายเท้าอักเสบ (peripheral neuropathy) และสรรพคุณเด่นของวิตามินบี 6 คือ ใช้ป้องกัน และรักษาอาการผิวหนังหรือตุ่มขนอักเสบ (Palmar plantar erythrodysesthesia: PPE)

วิตามินบี 7 (ไบโอติน : Biotin) รอเพิ่มข้อมูล

วิตามินบี 8 (อิโนซิทอล : Inositol) รอเพิ่มข้อมูล

วิตามินบี 9 (กรดโฟลิก : Folic acid) รอเพิ่มข้อมูล

วิตามินบี 10 (กรดพารา-อะมิโนเบนโซอิก : Para-aminobenzoic acid) รอเพิ่มข้อมูล

วิตามินบี 11 (กรดซาลิซิลิก : Salicylic acid) รอเพิ่มข้อมูล

วิตามินบี 12 (โคบาลามีน : Cobalamin) (ภาวิณี ชัยประเสริฐ, 2528.)(1)
วิตามินบี 12 เป็นวิตามินบีที่มีโครงสร้าางขนาดใหญ่ และซับซ้อนที่สุด จัดเป็นสารประเภท คอร์รินอยด์ คอริน (corrinoid corrin) ประกอบด้วยวงแหวนไพโรล (pyrrole) เชื่อมต่อกัน 4 วง และมีโคบอลท์ (Co) อยู่ตรงกลางในโครงสร้างโมเลกุล 1 อะตอม
มีสถานะเป็นผลึกสีแดงเข้ม รูปเข็มหรือปริซึม มีสูตรทางเคมี คือ C63H88O14N14PCo มีชื่อทางเคมีว่า 5,6-dimethylbenzimidazoyl cobamide cyanide มีน้ำหนัดโมเลกุล 1450 ละลายได้ดีในน้ำ และแอลกอฮอล์ ไม่ละลายในอีเทอร์ และคลอโรฟอร์ม ไม่ทนต่อกรด และด่าง และสลายตัวได้เมื่อถูกแสงแดด และความร้อน

แหล่งอาหาร
วิตามินบี 12 พบในสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด ที่รวมอยู่กับโปรตีน คือ cyanocobalamin และ hydroxycobalamin โดยพบมากในอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ เนื้อปลา นม ไข่ โดยไข่ 1 ฟอง  น้ำหนัก 58 กรัม พบวิตามินบี 12 มากถึง 1.3 ไมโครกรัม โดยคิดเป็นร้อยละ 87 ของความต้องการของร่างกายในแต่ละวัน แต่บริเวณที่พบวิตามินบี 12 มากที่สุด คือ ตับ โดยตับ 1 กิโลกรัมสามารถสกัดวิตามินบี 12 ได้ 1 มิลลิกรัม

การย่อยและการดูดซึม
วิตามินบี 12 ที่พบในอาหารจะรวมกับโปรตีน และจะถูกปลดปล่อยออกมาหลังโปรตีนถูกย่อยด้วยเอนไซม์เปปซิน (pepsin) หลังจากนั้นจะมีโปรตีน 2 ชนิด ที่หลั่งออกมาจากกระเพาะอาหารเข้าจับกับวิตามินบี 12 คือ intrinsic factor (IF) และ R-protein โดย R-protein จะจับกับวิตามินบี 12 ก่อนที่กระเพาะอาหาร พร้อมเคลื่อนเข้าสู่ลำไส้เล็กต่อไป

เมื่อถึงลำไส้เล็กตอนต้น R-protein จะถูกย่อยด้วยเอนไซม์จากตับอ่อน จนปลดปล่อยวิตามินบี 12 ออกมา หลังจากนั้น intrinsic factor (IF) ที่สังเคราะห์จาก gastric parietal cell จะรวมตัวกับ วิตามินบี 12 เคลื่อนเข้าสู่ลำไส้เล็กส่วนปลาย (ileum) พร้อมเกิดการดูดซึมขึ้น

การสะสม และการขับถ่าย
วิตามินบี 12 ส่วนมากจะสะสมในตับ และพบได้ในเนื้อเยื่ออื่นๆแต่มีปริมาณน้อย เช่น กล้ามเนื้อ ไต หัวใจ และม้าม เป็นต้น โดยประมาณร้อยละ 60-70 จะสะสมในรูปของ adenosylcobalamin  ร้อยละ 25 ในรูปของ hydroxycobalamin และร้อยละ 5 ในรูปของ methylcobalamin ที่เหลือร้อยละ 0.1 จะถูกย่อย และขับออกทางอุจจาระ/ปัสสาวะ โดยขับออกทางปัสสาวะประมาณ 0.25 ไมโคร/ต่อวัน ในรูปของวิตามินบี 2 อิสระ (free cobalamin)

ความต้องการของร่างกาย
– เด็กทารก : 0.3 ไมโครกรัม/วัน
– เด็กอายุ 1-3 ปี : 1.0 ไมโครกรัม/วัน
– เด็กอายุ 3-10 : 2.0 ไมโครกรัม/วัน
– เด็กอายุตั้งแต่ 11 ปีขึ้นไป และผู้ใหญ่ : 3.0 ไมโครกรัม/วัน
– หญิงตั้งครรภ์ และให้นมบุตร : 4.0 ไมโครกรัม/วัน

ดังนั้น การได้รับวิตามินบี 12 ในอาหารแต่ละวันจึงมีเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย แต่ก็มีโอกาสเสี่ยงต่อการขาดได้เหมือนกัน โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ไม่ชอบรับประทานอาหารจำพวกไข่ และเนื้อสัตว์

ผลการขาดวิตาิมินบี 12
สาเหตุการขาดวิตามินบี 12 ส่วนมากไม่ได้มีสาเหตุจากอาหาร แต่จะพบสาเหตุมาจากการดูดซึมเป็นหลัก ผลที่ตามมา คือ ไขกระดูดไม่สามารถสร้างเม็ดเลือดแดงที่สมบูรณ์ได้ จนเกิดเป็นโรคโลหิตจางตามมา มีอาการเบื่ออาหาร ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ท้องอืด น้ำหนักลด และมีอาการทางระบบประสาท เช่น ปลายประสาทอักเสบ

บทบาทหน้าที่ และสรรพคุณ
1. วิตามินบี 12 ทำหน้าที่เป็นโคเอนไซม์ เอ ในการขนย้ายคาร์บอนอะตอมในหมู่เมธิลสำหรับการสังเคราะห์โคลีน สังเคราะห์กรดอะมิโนซีริน และสังเคราะห์เมไธโอนิน
2. เกี่ยวข้องในกระบวนการสังเคราะห์ pyrimidine basis และกระบวนการพิวรีนเมทาบอลิซึม
3. เกี่ยวข้องกับกระบวนการสังเคราะห์กรดนิวคลีอิก และนิวคลีโอโปรตีน ช่วยส่งเสริม และเร่งการเจริญเติบโต
4. เกี่ยวข้องกับการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงในไขกระดูก – ช่วยป้องกัน และรักษาโรคโลหิตจาง
5. เกี่ยวช้องกับกระบวนการในระบบกระแสประสาท ช่วยป้องกัน และรักษาโรคระบบประสาท

วิตามินบี 13 (กรดออโรติก : Orotic Acid)

วิตามินบี 15 (กรดแพงเกมิก : Pangamic Acid)

วิตามินบี 17 (อะมัยดาลิน : Amygdalin)

เอกสารอ้างอิง
1.  ภาวิณี ชัยประเสริฐ, 2528. การผลิตวิตามินบี 12 จากเชื้อจุลินทรีย์.