ผงซักฟอก ผงซักผ้า

16489

ผงซักฟอก หรือ ผงซักผ้า เป็นผลิตภัณฑ์ซักล้างสำหรับทำความสะอาดที่ผลิตจากสารลดแรงตึงผิว ในกลุ่มของเกลือซัลโฟเนต มีลักษณะเป็นผงหรือเกล็ดสีขาว นำมาใช้ร่วมกับน้ำสำหรับการทำความสะอาดเสื้อผ้า และใช้ทำความสะอาดในด้านอื่นๆ

ผงซักฟอกมีผลิตครั้งแรกในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยบริษัท Proctor and Gamble ด้วยการใช้ alkyl sulfate เป็นส่วนประกอบหลัก แต่ไม่ได้รับความนิยมมากนักเนื่องจากมีการใช้สบู่กันอย่างแพร่หลาย ในช่วงต่อมาสมัยสงคราโลกครั้งที่ 2 สบู่เริ่มขาดแคลนจากการขาดวัตถุดิบจำพวกไขมันจึงทำให้มีการพัฒนาผลิตผงซักฟอกออกมาใช้มากขึ้น เริ่มตั้งแต่ปี 1940 สหรัฐอเมริกาผลิตผงซักฟอกด้วย alkyl benzene sulfonate (ABS) และcoaltar ปี 1962 เยอรมันผลิตผงซักฟอกด้วย linear aklyl benzene sulfonate (LAB) ซึ่งได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายเกือบทุกประเทศ เพราะก่อปัญหาด้านมลพิษทางน้ำน้อยที่สุด

ประเทศไทยนำเข้าผงซักฟอกครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2497 โดยบริษัท หลุยส์ทีเลียวโนเวนส์ จำกัด ซึ่งตั้งชื่อยี่ห้อ คือ แฟบ และมีการตั้งโรงงานผลิตผงซักฟอกครั้งแรกในไทย พ.ศ. 2500 ของบริษัท คอลเกตปาล์โอลีฟ จำกัด

ผงซักฟอง

ส่วนประกอบผงซักฟอก
1. สารลดแรงตึงผิว (surfactant) เป็นสารสำคัญของผงซักฟอกที่ทำหน้าที่ลดแรงตึงผิวระหว่างน้ำกับวัสดุทำให้น้ำแทรกซึมสู่วัสดุได้ง่าย
– สารประจุลบ (anionic) เป็นชนิดที่ละลายน้ำแล้วโมเลกุลจะให้ประจุลบ สามารถละลายน้ำได้ดีในอุณหภูมิสูง มีฟองมาก แต่จะละลายไม่ดีหากน้ำมีความกระด้าง ได้แก่ สบู่ las abs เป็นต้น
– สารประจุบวก (cationic) เป็นชนิดที่ละลายน้ำแล้วโมเลกุลจะให้ประจุบวก สามารถละลายน้ำได้ดีในอุณหภูมิสูง ละลายได้ไม่ดีหากน้ำมีความกระด้าง ได้แก่ alkyl trimethyl ammonium halides เป็นต้น
– สารไม่มีประจุ (nonionic) เป็นชนิดที่ละลายน้ำแล้วโมเลกุลจะไม่เกิดประจุ ได้แก่ alcohol ethoxylates เป็นต้น
– สารที่มีประจุทั้งสอง (amphoteric) เป็นชนิดที่ละลายน้ำแล้วโมเลกุลอาจเกิดทั้งสองประจุ ได้แก่ alkyl betain เป็นต้น

2. สารลดความกระด้างของน้ำ (builder) เป็นสารที่เป็นส่วนผสมของผงซักฟอกเพื่อช่วยลดความกระด้างของน้ำ และเพิ่มประสิทธิภาพสารลดแรงตึงผิวให้ทำหน้าที่ได้ดียิ่งขึ้น และช่วยกระจายคราบสิ่งสกปรก คราบไขมันให้กระจายออกเป็นโมเลกุลขนาดเล็กจนแขวนลอยในน้ำทำให้คราบสกปรกหลุดออกจากวัสดุได้ง่าย สารในกลุ่มนี้ ได้แก่ โซเดียมไตรไพลิฟอสเฟต (sodium tripolyphosphate) เกลือของกรดซิตริก เกลือของกรดโพลิคาร์บอกซิลิก ซีโอไลต์ และเกลือฟอสเฟตต่างๆ

3. สารเพิ่มฟอง (sud regulatore) เป็นสารที่ทำหน้าที่เพิ่มหรือลดฟอง ได้แก่ lauric ethanolamine  และsodium carboxy methyl cellulose เป็นต้น

4. สารเพิ่มประสิทธิภาพอื่นๆ (additives)
– สารช่วยละลาย
– สารเร่งการฟอก
– เอนไซม์
– สารป้องกันการตกตะกอน
– สารเพิ่มความสดใส
– สารกันหมอง
– น้ำหอม
– สี

ประเภทของสารผงซักฟอก
1. สารย่อยสลายยาก (hard detergent) เป็นผงซักฟอกที่มีองค์ประกอบหลักของสารลดแรงตึงผิวประเภทย่อยสลายทางธรรมชาติได้ยากทำให้เกิดปัญหาน้ำเน่าเสียตามมา สารในกลุ่มนี้ คือ alkyl benzene sulfonate (ABS) ปัจจุบันเลิกใช้มาตั้งนานแล้ว

2. สารย่อยสลายง่าย (soft detergent) เป็นผงซักฟอกที่มีองค์ประกอบหลักของสารลดแรงตึงผิวประเภทย่อยสลายทางธรรมชาติได้ง่ายทำให้เกิดไม่ทำให้เกิดปัญหาน้ำเน่าเสียตามมาหรือเกิดน้อยหากมีปริมาณมาก สารในกลุ่มนี้ คือ linear aklyl benzene sulfonate (LAB)

ตัวอย่างส่วนผสมผงซักฟอกในปัจจุบัน
– Anionic surfactant
– Zeolite
– Sodium carboxymethyl cellulose
– Sodium carbonate
– Fluorescer
– น้ำหอม