น้ำยาฟาวน์เท่น สำหรับงานพิมพ์ภาพ

8384

น้ำยาฟาวน์เท่น เป็นน้ำยาสำหรับงานพิมพ์ต่างๆ โดยเฉพาะงานพิมพ์ภาพ ประกอบด้วยน้ำ และสารตัวถูกละลายหลายชนิด ใช้เพื่อเป็นสารให้ความชื้นแก่บริเวณไม่มีภาพหรือบริเวณงานพิมพ์ที่ไม่มีภาพ โดยทำหน้าที่เคลือบเฉพาะบริเวณไม่มีภาพเพื่อไม่ให้หมึกพิมพ์ติดหรือแพร่สู่บริเวณเหล่านี้

น้ำยาฟาวน์เท่นที่จำหน่าย มักเป็นน้ำยาเข้มข้น หรือเรียก ว่า “หัวน้ำยา” ซึ่งก่อนใช้จำเป็นต้องทำการเจือจางเสียก่อน ตามสัดส่วน และคำแนะนำของผลิตผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับปริมาณการใช้ และลักษณะการพิมพ์

หน้าที่ของน้ำยาฟาวน์เท่น
1. ทำหน้าที่เคลือบบริเวณไม่มีภาพ ทำให้เกิดแผ่นฟิล์มบางๆที่ มีความต่อเนื่องช่วยป้องกันหมึกพิมพ์ไม่ให้ติดที่บริเวณไม่มีภาพ

2. มีค่าแรงตึงผิวต่ำกว่าน้ำบริสุทธิ์ (72.8 มิลลินิวตันเมตร) โดยการเติมแอลกอฮอล์เพิ่มเข้าไปจนมีค่าแรงตึงผิวจะลดลงต่ำกว่า 40 มิลลินิวตันเมตร ทำให้เกาะติดแม่พิมพ์ได้ดี

เครื่องพิมพ์ภาพ

3. คุณสมบัติของน้ำยาฟาวน์เท่นที่มีความเป็นกรดจะช่วยป้องกัน และรักษาแม่พิมพ์ให้สะอาด ช่วยกำจัดการเกาะติดของไขมัน ผงสี น้ำมัน ผงสี เกลือ และสารอื่นๆ

4. ช่วยลดความร้อนของแม่พิมพ์ จากคุณสมบัติสามารถระเหยได้เร็วเมื่อมีอุณหภูมิสูงขึ้น โดยเฉพาะน้ำยาฟาวน์เท่นที่ผสมกับแอลกอฮอล์

5. ไม่ทำให้เกิดปัญหาในการพิมพ์ เช่น หมึกขาดช่วง หมึกเป็นตะกอน เป็นต้น

6. ไม่มีผลต่อการแห้งตัวของหมึกพิมพ์

7. น้ำที่เป็นตัวทำละลายของน้ำยาฟาวน์เท่นควรเป็นน้ำที่สะอาด หรือมีความบริสุทธิ์ซึ่งจะช่วยรักษาระดับ ความเป็นกรด-ด่าง ของน้ำยาให้คงที่แม้จะมีการปนเปื้อนของสิ่งต่างๆ เช่น ฝุ่น เศษกระดาษ เป็นต้น

ชนิดของน้ำยาฟาวน์เท่น
–  ชนิดที่เป็นกรด (Acidic Fountain Solution) เป็นชนิดที่นิยมใช้มากที่สุด โดยมีค่า pH ต่ำกว่า 7 ประกอบด้วยสารตัวถูกละลายที่เมื่อละลายน้ำแล้วจะให้ความเป็นกรด

–  ชนิดที่เป็นกลาง (Neutral Fountain Solution) เป็นชนิดที่มีค่า pH เท่ากับ 7 หรืออาจสูงหรือต่ำกว่าเล็กน้อยประกอบด้วยสารตัวถูกละลายที่เมื่อละลายน้ำแล้วไม่ก่อให้เกิดความเป็นกรด-ด่าง

–  ชนิดที่เป็นด่าง (Alkaline Fountain Solution) เป็นชนิดที่มีค่า pH มากกว่า 7 ประกอบด้วยสารตัวถูกละลายที่เมื่อละลายน้ำแล้วจะให้ความเป็น ด่าง มักใช้กัมสังเคราะห์ (Synthetic Gum) ซึ่งไม่นิยมใช้สำหรับการพิมพ์ สีหลายสี เพราะสภาพเป็นด่าง จะทำให้หมึกแตกตัว และเกิดฟองสบู่ทำให้เกิดการรวมตัวกันของน้ำยาฟาวน์เท่นกับหมึกได้ง่าย

องค์ประกอบของน้ำยาฟาวน์เท่น
– กรด (Acids) ทำหน้าที่ให้น้ำยามีคุณสมบัติเป็นกรด ช่วยทำให้แม่พิมพ์สะอาดด้วยการเกาะของสาร
จำพวกไข น้ำมัน สี ซึ่งนิยมใช้กรดฟอสฟอริก (Phosphoric acid) กรด แลกติก (Lactic acid) และกรดซิตริก (Citric acid) เป็นส่วนผสม
– กัมอาระบิก (Gum Arabic) เป็นสารที่มีคุณสมบัติละลายน้ำได้ดีทำให้เกิดชั้นฟิล์มบางๆ เชื่อมผิวน้ำ และผิวน้ำมันเข้าด้วยกัน ชนิดของกัมที่นิยมใช้มากมักสกัดได้มาจากต้นอะคาเซีย (Acacia Senegal) มีฤทธิ์
เป็นกรด เมื่อละลายน้ำจะมีลักษณะหนืดข้น
– บัฟเฟอร์ (Buffer) เป็นสารประกอบของเกลือ สำหรับทำหน้าที่รักษาระดับความเป็นกรด-ด่างของ
น้ำยาฟาวน์เท่น ไม่ให้มีการเปลี่ยนแปลง สารที่ที่ใช้ ได้แก่ สารประกอบฟอสเฟส (Phosphate) และเกลือซิเตรท
– โคบอลต์ไนเตรต ( Cobalt Nitrate ) เป็นสารที่ทำหน้าเร่งปฏิกิริยาออกซิเดชันของหมึก ทำให้หมึกพิมพ์ให้แห้งเร็วขึ้น
– เอทิลีน ไกลคอล (Ethylene Glycol) เป็นสารสำหรับป้องกันไม่ให้กระดาษติดผ้ายาง
– ไกลคอล อีเทอร์ (Glycol Ether) นิยมใช้แทนแอลกอฮอล์ เพื่อช่วยลดปริมาณ IPA
– สารลดแรงตึงผิว (Surfactants) ทำหน้าที่ช่วยลดแรงตึงผิวของน้ำยาฟาวน์เท่น ทำให้น้ำยาเปียก และกระจายตัวบนบริเวณไม่มีภาพได้ดี และช่วยลดแรงตึงผิวระหว่างน้ำกับน้ำยาทำให้ผสมตัวกันได้เร็วขึ้น
– ซิลิโคน (Silicones) ใช้สำหรับป้องกันการเกิดฟองของน้ำยา
– Sequestering Agents ใช้สำหรับป้องกันการตกตะกอนของเกลือแคลเซียม และแมกนีเซียม ที่อาจปนเปื้อนมากับน้ำ และช่วยป้องกันการตกตะกอนของสารประกอบในน้ำยา
– สารป้องกันการสึกกร่อนโลหะ (Anti-Corrosives) ใช้สำหรับป้องกันการสึกกร่อนของโลหะในเครื่องพิมพ์จากภาวะความเป็นกรดของน้ำยาหรือหมึกพิมพ์
– สารกันเน่า ใช้สำหรับป้องกันการเจริญเติบโต และกำจัดจุลินทรีย์ ที่อาจทำให้น้ำยาฟาวน์เท่นเสื่อม- เกลือไนเตรท (Nitrate Salts) ใช้สำหรับป้องกันการเกิดรอยขีดข่วนทำให้เกิดรอยบนแม่พิมพ์
– Miscellaneous Other Salts ใช้สำหรับป้องกันคราบหมึก และทำให้หมึกกับน้ำรวมตัวกันได้ดี

การใช้งาน
น้ำเจือจาง โดยน้ำที่ใช้สำหรับเจือจางควรเป็นน้ำบริสุทธิ์ที่ได้จากการกลั่นหรือน้ำกลั่นที่สามารถหาซื้อได้ตามท้องตลาด ไม่ควรใช้น้ำประปาเนื่องจากยังมีความกระด้างอยู่