ธาตุอาหารพืช

310135

ธาตุอาหารพืช เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของพืช ประกอบด้วย 17 ธาตุ ได้แก่ คาร์บอน, ไฮโดรเจน, ออกซิเจน, ไนโตรเจน, ฟอสฟอรัส, โปแตสเซียม, แคลเซียม, แมกนีเซียม, กำมะถัน, เหล็ก, แมงกานีส, สังกะสี, ทองแดง, โบรอน, โมลิบดีนัม, คลอรีน และนิเกิล แบ่งเป็น

มหธาตุ 9 ธาตุ (macronutrient elements) หรือธาตุอาหารมหัพภาค คือ ธาตุอาหารที่พืชต้องการในปริมาณมาก และขาดไม่ได้ โดยมีความเข้มข้นของธาตุอาหารโดยน้ำหนักแห้ง เมื่อพืชเจริญเติบโตเต็มวัยสูงกว่า 500 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ได้แก่ คาร์บอน, ไฮโดรเจน และออกซิเจน ซึ่งได้จากน้ำ และอากาศ ส่วนไนโตรเจน, ฟอสฟอรัส, โปแตสเซียม, แคลเซียม, แมกนีเซียม และกำมะถัน พืชได้จากดิน

ในบางครั้ง มหธาตุจะกล่าวถึงเพียง 6 ธาตุ ไม่นับรวมคาร์บอน, ไฮโดรเจน และออกซิเจน ที่ได้จากน้ำ และอากาศ ได้แก่ ไนโตรเจน, ฟอสฟอรัส, โปแตสเซียม, แคลเซียม, แมกนีเซียม และกำมะถัน โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ

 

1. กลุ่มธาตุอาหารหลัก (primary nutrient elements) 3 คือ ธาตุอาหารพืชที่ต้องการในปริมาณมาก 3 ธาตุ ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม
2. กลุ่มธาตุอาหารรอง (secondary nutrient elements) คือ ธาตุอาหารที่พืชต้องการในปริมาณน้อยกว่ากว่ากลุ่มแรก 3 ธาตุ ได้แก่ แคลเซียม แมกนีเซียม และกำมะถัน

elements1

จุลธาตุ 8 ธาตุ (micronutrient elements) คือ ธาตุอาหารที่พืชต้องการในปริมาณน้อย โดยที่มีความเข้มข้นของธาตุอาหารโดยน้ำหนักแห้ง เมื่อพืชเจริญเติบโตเต็มวัยต่ำกว่า 100 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ได้แก่เหล็ก, แมงกานีส, สังกะสี, ทองแดง, โบรอน, โมลิบดีนัม, คลอรีน และนิเกิล

สำหรับธาตุนิ เกิล เพิ่งจะมีการวมเข้าเป็นธาตุที่ 8 โดยมีการศึกษา พบว่า นิกเกิลเป็นองค์ประกอบสำคัญของเอนไซม์ยูรีเอส ที่ทำหน้าที่กระตุ้นปฏิกิริยาไฮโดรไลซิสยูเรียให้เป็นแอมโมเนีย และคาร์บอนไดออกไซด์ และทำหน้าที่สำคัญในการสร้างสารประกอบอินทรีย์ไนโตรเจน นอกจากนั้น พืชบางชนิดยังต้องการธาตุอาหารอื่นๆอีก เช่น โคบอลท์ (CO), โซเดียม (Na), อะลูมิเนียม (Al), แวนาเดียม (Va), ซิลิเนียม (Se), ซิลิกอน (Si)  และอื่นๆ เรียกธาตุอาหารกลุ่มเหล่านี้ว่า beneficial element

elements2

ธาตุอาหารหลัก
1. ไนโตรเจน
ไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบของพืชประมาณร้อยละ 18  และปริมาณไนโตรเจนกว่าร้อยละ 80-85 ของไนโตรเจนทั้งหมดที่พบในพืชจะเป็นองค์ประกอบของโปรตีน ร้อยละ 10 เป็นองค์ประกอบของกรดนิวคลีอิก และร้อยละ 5 เป็นองค์ประกอบของกรดอะมิโนที่ละลายได้ โดยทั่วไป ธาตุไนโตรเจนในดินมักขาดมากกว่าธาตุอื่น โดยพืชนำไนโตรเจนที่มาใช้ผ่านการดูดซึมจากรากในดินในรูปของเกลือไนเตรท (NO3-) และเกลือแอมโมเนียม (NH4+)

ธาตุไนโตรเจนในดินมักสูญเสียได้ง่ายจากการชะล้างในรูปของเกลือไนเตรท หรือเกิดการระเหยของแอมโมเนีย ดังนั้น หากต้องการให้ไนโตรเจนในดินที่เพียงจึงต้องใส่ธาตุไนโตรเจนลงไปในดินในรูปของปุ๋ย นอกจากนี้ พืชยังได้รับไนโตรเจนจากการสลายตัวของอินทรียวัตถุ และการแปรสภาพของสารอินทรีย์โดยจุลินทรีย์ในดิน รวมถึงการได้รับจากพืชบางชนิด เช่น พืชตระกูลถั่ว ที่มีไรโซเบียมช่วยตรึงไนโตรเจนจากอากาศ ความต้องการธาตุไนโตรเจนของพืชขึ้นกับหลายปัจจัย อาทิ ชนิดของพืช อายุของพืช และฤดูกาล

หน้าที่ และความสำคัญต่อพืช
1. ทำให้พืชเจริญเติบโต และตั้งตัวได้เร็ว โดยเฉพาะในระยะแรกของการเจริญเติบโต
2. ส่งเสริมการเจริญเติบโตของใบ และลำต้น ทำให้ลำต้น และใบมีสีเขียวเข้ม
3. ส่งเสริมการสร้างโปรตีนให้แก่พืช
4. ควบคุมการออกดอก และติดผลของพืช
5. เพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้น โดยเฉพาะพืชที่ให้ใบ และลำต้น

อาการขาดธาตุไนโตรเจน
เมื่อพืชขาดไนโตรเจน การเจริญเติบโตจะชะงัก ใบมีสีเหลืองหรือเหลืองปนส้ม เนื่องจากขาดคลอโรฟิลล์ หากเป็นมากใบจะมีสีน้ำตาล โดยจะเริ่มที่ใบแก่ส่วนล่างก่อน ส่วนใบอ่อนในระยะแรกจะยังมีธาตุไนโตรเจนให้ใช้อยู่จากได้รับจากใบแก่ที่อยู่ด้านล่าง หากไนโตรเจนมีอยู่น้อยมาก ใบด้านล่างจะเหลือง หลุดร่วง และลุกลามไปยังใบอ่อนที่อยู่ด้านบน ทำให้ใบอ่อนมีสีเขียวซีด และเหลือง การเจริญเติบโตของยอดหยุดชะงัก ลำต้นผอมสูง ลำต้นแคระแกร็น ใบ กิ่งก้านลีบเล็ก และมีจำนวนน้อย การแตกกิ่งก้าน และการแตกกอของธัญพืชมีน้อย ในพืชบางชนิด รากของพืชยืดยาวผิดปกติ และมีการแตกแขนงเพียงเล็กน้อย พืชมีการสะสมแป้งหรือน้ำตาลมากกว่าปกติ การสร้างเซลลูโลสมากขึ้น ทำให้เนื้อเยื่อพืชแข็งกระด้าง มีความเหนียว ไม่น่ารับประทาน

พืชแต่ละชนิดจะแสดงอาการแตกต่างกัน เช่น ข้าวโพดที่ขาดไนโตรเจน ใบจะมีสีเหลืองที่ปลายใบ แล้วลุกลามเข้ามาสู่เส้นกลางใบ ซึ่งจะมองเห็นรูปร่างคล้ายตัววี

elements3

2. ฟอสฟอรัส
ฟอสฟอรัสในดินมักมีปริมาณที่ไม่เพียงพอกับความต้องการของพืชเช่นกัน เนื่องจากเป็นธาตุที่ถูกตรึงหรือเปลี่ยนเป็นสารประกอบได้ง่าย สารเหล่านี้มักละลายน้ำได้ยาก ทำให้ความเป็นประโยชน์ของฟอสฟอรัสต่อพืชลดลง

ฟอสฟอรัสที่พบในพืชจะในรูปของฟอสเฟตไอออนที่พบมากในท่อลำเลียงน้ำ เมล็ด ผล และในเซลล์พืช โดยทำหน้าสำคัญเกี่ยวกับการถ่ายทอดพลังงาน เป็นวัตถุดิบในกระบวนการสร้างสารต่างๆ และควบคุมระดับความเป็นกรด-ด่าง ของกระบวนการลำเลียงน้ำในเซลล์

การนำฟอสฟอรัสจากดินมาใช้ พืชจะดูดฟอสฟอรัสในรูปอนุมูลไดไฮโดรเจนฟอสเฟตไอออน (H2PO4-) และไฮโดรเจนฟอสเฟตไอออน (HPO42-) ปริมาณสารทั้งสองชนิดจะมากหรือน้อยขึ้นกับค่าความเป็นกรด-ด่างของดิน ดินที่มีสภาพความเป็นกรด ฟอสฟอรัสจะอยู่ในรูปไดไฮโดรเจนฟอสเฟตไอออน(H2PO4-) หากดินมีสภาพเป็นด่าง ฟอสฟอรัสจะอยู่ในรูปไฮโดรเจนฟอสเฟตไอออน (HPO42-) แต่สารเหล่านี้ในดินมักถูกยึดด้วยอนุภาคดินเหนียว ทำให้พืชไม่สามารถนำไปใช้ได้ รวมถึงรวมตัวกับธาตุอื่นในดิน ทำให้พืชไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ เช่น ในสภาพดินที่เป็นเบส และเป็นกรดจัดที่มีแร่ธาตุ และสารประกอบอื่นมากฟอสเฟตจะรวมตัวกับไอออนประจุบวก และลบของธาตุ และสารประกอบเหล่านั้น กลายเป็นเกลือที่ไม่ละลายน้ำทำให้พืชนำไปใช้ได้น้อย ดังนั้น ในสภาพดินที่เป็นกลาง พืชจะนำฟอสเฟตไอออนมาใช้ประโยชน์ได้ดีกว่า

โดยทั่วไปพืชจะต้องการฟอสฟอรัสประมาณ 0.3-0.5 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนักแห้ง เพื่อให้การเจริญเติบโตทางใบเป็นปกติ แต่หากได้รับในปริมาณสูงกว่า 1 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนักแห้งจะเกิดความเป็นพิษต่อพืช

หน้าที่ และความสำคัญต่อพืช
1. ส่งเสริมการเจริญเติบโตของราก ทั้งรากแก้ว ราฝอย และรากแขนง โดยเฉพาะในระยะแรกของการเจริญเติบโต
2. ช่วยเร่งให้พืชแก่เร็ว ช่วยการออกดอก การติดผล และการสร้างเมล็ด
3. ช่วยให้รากดูดโปแตสเซียมจากดินมาใช้เป็นประโยชน์ได้มากขึ้น
4. ช่วยเพิ่มความต้านทานต่อโรคบางชนิด ทำให้ผลผลิตมีคุณภาพดี
5. ช่วยให้ลำต้นแข็งแรง ไม่ล้มง่าย
6. ลดผลกระทบที่เกิดจากพืชได้รับไนโตรเจนมากเกินไป

อาการขาดธาตุฟอสฟอรัส
พืชที่ขาดธาตุฟอสฟอรัสจะมีอัตราการหายใจลดลง พืชสะสมคาร์โบไฮเดรตมากขึ้น ใบพืชมีสีเขียวเข้ม มีการสะสมรงควัตถุแอนโทไซยานินที่ลำต้น และก้านใบ ทำให้ก้านใบมีสีชมพู อาการจะเริ่มที่ใบแก่ก่อน ใบมีขนาดเล็ก จำนวนใบน้อย ใบแห้งเป็นจุดๆ การเจริญเติบโตของพืชหยุดชะงัก ลำต้นแคระแกร็น รากเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือน้ำตาล

การขาดธาตุฟอสฟอรัสยังมีผลต่อการออกดอกช้า จำนวนดอก ผล และเมล็ดน้อยลง ผลผลิตต่ำจากใบพืชที่เสื่อม และร่วงหล่นเร็วกว่าปกติ  แต่หากได้รับฟอสฟอรัสมากพืชจะแก่เร็ว

การขาดฟอสฟอรัสเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้รากพืชขยายยาว แม้ลำต้นเหนือดินหยุดการเจริญเติบโตแล้ว เพราะมีการกระจายคาร์โบไฮเดรตลงมาสู่รากพืชมากขึ้น เนื่องจากพืชมีความพยายามที่จะรักษาสภาพของราก เพื่อทำหน้าที่ดูดหาอาหารที่ขาดแคลนมาเพิ่มเติม
อาการขาดฟอสฟอรัสของแต่ละชนิดพืชจะแตกต่างกัน ได้แก่
– ข้าว ข้าวโพด จะมีลำต้นบิดเกลียว เนื้อไม้แข็ง แต่เปราะและหักง่าย
– ข้าวโพด ใบ และลำต้นจะมีสีม่วง
– สับปะรด ใบจะมีสีเขียวเข้ม และเปลี่ยนเป็นสีม่วง
– ลิ้นจี่จะแสดงอาการที่ปลายใบ และขอบใบแก่ตายใบม้วน แห้ง และร่วงหล่น
– มะเขือเทศใบจะมีสีม่วงบริเวณใต้ใบ โดยเฉพาะที่เส้นใบ และแผ่นใบ ใบมีขนาดเล็ก ใบย่อยม้วนลง และจะตายก่อนอายุ
– พริกจะมีขนาดเล็กแคบ และห่อ ใบแก่มีสีเหลือง และขอบใบมีสีชมพู ผลจะมีขนาดเล็ก และผิดรูปร่าง
– แครอท จะมีเนื้อของหัวแข็งกระด้าง เพราะมีการสะสมสารแห้งมากขึ้น
– ส้ม ปริมาณใบน้อย ผลมีกรดมาก และร่วงก่อนแก่

3. โปแตสเซียม
โดยทั่วไป โพแทสเซียมกระจายอยู่ดินชั้นบน และดินชั้นล่างในปริมาณที่ไม่แตกต่างกัน โพแทสเซียมเป็นธาตุที่จำเป็นสำหรับพืชเหมือนกับธาตุฟอสฟอรัส  และธาตุไนโตรเจน พืชจะดูดโพแทสเซียมจากดินในรูปโพแทสเซียมไอออน โพแทสเซียมเป็นธาตุที่ละลายน้ำได้ดี และพบมากในดินทั่วไป แต่ส่วนใหญ่จะรวมตัวกับธาตุอื่นหรือถูกยึดในชั้นดินเหนียว ทำให้พืชนำไปใช้ไม่ได้ การเพิ่มปริมาณโพแทสเซียมในดินจะเกิดจากการสลายตัวของหินเป็นดินหรือปฏิกิริยาของจุลินทรีย์ในดินที่พืชสามารถนำไปใช้ได้

โพแทสเซียมที่เป็นองค์ประกอบของพืช พบมากในส่วนยอดของต้น ปลายราก ตาข้าง ใบอ่อน ในใจกลางลำต้น และในท่อลำเลียงอาหาร โดยทั่วไป ความต้องการโพแทสเซียมของพืชอยู่ในช่วง 2-5 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนักแห้ง  บทบาทสำคัญของโพแทสเซียม คือ ช่วยกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ ช่วยในกระบวนการสร้างแป้ง ช่วยในกระบวนการสังเคราะห์แสง ควบคุมศักย์ออสโมซีส ช่วยในการลำเลียงสารอาหาร ช่วยรักษาสมดุลระหว่างกรด และเบส

หน้าที่ และความสำคัญต่อพืช
1. ส่งเสริมการเจริญเติบโตของราก ทำให้รากดูดน้ำ และธาตุอาหารได้ดีขึ้น
2. จำเป็นต่อการสร้างเนื้อผลไม้ การสร้างแป้งของผล และหัว จึงนิยมให้ปุ๋ยโพแทสเซียมมากในระยะเร่งดอก ผล และหัว
3. ช่วยให้พืชต้านทานการเปลี่ยนแปลงปริมาณแสง อุณภูมิหรือความชื้น
4. ช่วยให้พืชต้านทานต่อโรคต่างๆ
5. ช่วยเพิ่มคุณภาพของพืช ผัก และผลไม้ ทำให้พืชมีสีสัน เพิ่มขนาด และเพิ่มความหวาน
6. ช่วยป้องกันผลกระทบจากที่พืชได้รับไนโตรเจน และฟอสฟอรัสมากเกินไป

อาการขาดธาตุโพแทสเซียม
พืชที่ขาดโพแทสเซียม จะทาให้โพแทสเซียมที่สะสมในใบแก่ และเซลล์อื่นๆ เคลื่อนไปเลี้ยงเนื้อเยื่อที่กำลังเจริญ ทำให้ส่วนดังกล่าวมีอาการผิดปกติ เช่น ใบเหลืองเป็นแนว ซึ่งมักเกิดขึ้นในใบแก่ก่อน และใบแห้งตายเป็นจุดๆ โดยเฉพาะบริเวณขอบ และปลายใบ ใบม้วนงอ ลำต้นมีปล้องสั้น ยอดใบเป็นจุดๆ

ในพืชใบเลี้ยงคู่ ใบจะซีด และแห้งตายเป็นจุดๆ ส่วนพืชใบเลี้ยงเดี่ยว เช่น ใบถั่ว ข้าวโพด ฝ้าย และธัญพืช ปลายใบ และขอบใบจะตายก่อน และลามไปส่วนโคนใบ

– ในสับปะรดจ ะมีอาการใบเป็นจุดสีน้ำตาล ปลายใบเหี่ยว ใบมีขนาดเล็ก สั้น แคบกว่าปกติ

– ลิ้นจี่ จะมีอาการใบเหลือง ปลายใบ และขอบใบตาย ใบร่วง ติดผลน้อย

– มะเขือเทศ จะมีอาการของใบที่แก่เต็มที่มีสีเหลือง และไหม้ และลุกลามเข้าสู่เส้นใบ การเจริญเติบโตช้า ลำต้นอ่อนแอ เชื้อจุลินทรีย์เข้าทำลายรากได้ง่าย ทำให้ลำต้นโค้งงอ และหักล้มได้ง่าย

นอกจากนี้ พบว่า พืชที่ได้รับโพแทสเซียมไม่เพียงพอ จะทำให้กระบวนการสังเคราะห์แสงลดลง การควบคุมการปิด-เปิดปากใบผิดปกติ ปากใบเปิดเล็กน้อย ทำให้มีผลต่อกระบวนการสร้าง และเคลื่อนย้ายน้ำตาลลดลง มีผลต่อคุณภาพของสี ขนาด น้ำหนัก ความหวาน และคุณภาพของผลหรือเมล็ด

ธาตุอาหารรอง
1. แคลเซียม
ปริมาณแคลเซียมที่พบในพืชจะพบมากบริเวณส่วนที่กำลังเติบโต เช่น ยอด และปลายราก แคลเซียมเป็นธาตุที่ช่วยเสริมการนำธาตุไนโตรเจนจากดินไปใช้ประโยชน์ให้มากขึ้น

2. กำมะถัน
กำมะถันเป็นธาตุที่มีความจำเป็นต่อการสร้างโปรตีนพืช เป็นธาตุที่เป็นองค์ประกอบของโปรตีน และวิตามินบางชนิด เช่น วิตามินบี 1 นอกจากนี้ ยังมีผลทางอ้อมต่อการสร้างส่วนที่เป็นสีเขียวของพืช  ช่วยในกระบวนการหายใจ และการสังเคราะห์อาหาร ช่วยเพิ่มปริมาณน้ำมันในพืชบางชนิด เป็นองค์ประกอบของสารระเหยที่มีกลิ่นเฉพาะตัว เช่น หอม กระเทียม เป็นต้น

3. แมกนีเซียม
แมกนีเซียมเป็นองค์ประกอบของส่วนที่เป็นสีเขียว ทั้งใบ ลำต้น ผล และส่วนอื่นๆ มีบทบาทสำคัญในการสร้างอาหาร และโปรตีน

จุลธาตุ 8 ธาตุ
1. เหล็ก
เหล็กเป็นองค์ประกอบของโปรตีน และมีบทบาทในการสังเคราะห์อาหาร ช่วยกระตุ้นกระบวนการหายใจ และกระบวนการปรุงอาหารให้เป็นไปอย่างสมบูรณ์

2. ทองแดง
ทองแดงมีผลต่อพืชทางอ้อมต่อการสร้างส่วนที่เป็นสีเขียว ช่วยเพิ่มโมเลกุลคลอโรฟิลล์ และป้องกันการทำลายส่วนสีเขียวซึ่งอาจเกิดจากการขาดธาตุไนโตรเจน ช่วยให้ต้นพืชแข็งแรง และอายุยาวขึ้น เป็นส่วนประกอบของน้ำย่อยในพืช ช่วยในการสังเคราะห์อาหารสำหรับการเจริญเติบโต และการติดดอกออกผล

3. สังกะสี
สังกะสีมีบทบาท และหน้าที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนพืช  พืชที่ขาดสังกะสีจะทำให้ปริมาณฮอร์โมนไอ-เอ-เอ (IAA) ที่ตายอดลดลง ทำให้ตายอด ข้อ และปล้องไม่ขยาย ใบออกซ้อนกัน นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับน้ำย่อยหลายชนิด การสร้างสารอาหาร และสังเคราะห์แสง สังกะสีมีผลทางอ้อมในการสร้างส่วนสีเขียว

4. แมงกานีส
แมงกานีสมีผลต่อใบ เนื่องจากมีบทบาทในการสังเคราะห์แสง ช่วยกระตุ้นการทำงานของน้ำย่อย และควบคุมกิจกรรมของธาตุเหล็ก และไนโตรเจน

5. โบรอน
โบรอนทำหน้าที่ช่วยให้พืชดูดธาตุแคลเซียม และไนโตรเจนได้มากขึ้น หากพืชต้องการแคลเซียมมากย่อมต้องการโบรอนมากเช่นกัน และยังช่วยให้พืชใช้ธาตุโปแตสเซียมได้มากขึ้น นอกจากนี้ ยังมีบทบาทในการสังเคราะห์แสง การย่อยโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ควบคุมการดูด และการคายน้ำของพืชในกระบวนการสังเคราะห์อาหาร และเพิ่มคุณภาพของรสชาติ ขนาด และน้ำหนักผล

อาการขาดธาตุโบรอนจะพบได้ที่ยอด และใบอ่อน โดยพบลักษณะยอด และตายอดบิดงอ ใบอ่อนบาง มีความโปร่งใสผิดปกติ เส้นกลางใบหนากร้าน ใบตกกระ พบมีสารเหนียวออกตามเปลือกลำต้น กิ่งก้านเหี่ยว เปลือกผลหนา และผลแตกเป็นแผล ผลเล็ก และแข็งผิดปกติ พืชตระกูลกะหล่ำจะพบจุดสีน้ำตาลหรือดำ

6. โมลิบดินัม
เป็นธาตุที่จาเป็นสาหรับการตรึงธาตุไนโตรเจน ทาให้การทางานของธาตุไนโตรเจนในพืชสมบูรณ์ขึ้น นอกจากนี้ยังจาเป็นสาหรับกระบวนการสร้างสารสีเขียว และน้าย่อยภายในพืชบางชนิดในดินด่างความเป็นประโยชน์ของธาตุโมลิบดินัมต่อ พืชมากขึ้น แต่ในดินกรดพืชมักแสดงอาการขาดธาตุนี้เสมอ นอกจากนี้ปริมาณธาตุโมลิบดินัมยังขึ้นกับปริมาณธาตุอาหารพืชบางธาตุในดิน เช่น ธาตุเหล็ก ธาตุอลูมิเนียม และกามะถัน โดยถ้ามีธาตุทั้งสามมากเกินไปทาให้ความเป็นประโยชน์ของโมลิบดินัมลดลง ในดินที่มีธาตุฟอสฟอรัสเพียงพอช่วยส่งเสริมให้พืชดูดธาตุโมลิบดินัมได้มาก ขึ้น

ในพืชที่มีอาการขาดธาตุโมลิบดินัม เช่น พืชผัก มักแสดงอาการที่ใบแก่โดยเป็นจุดด่างเป็นดวงๆ ขณะที่เส้นใบยังเขียว ถ้าขาดธาตุนี้รุนแรงใบม้วนเข้าข้างใน ลักษณะที่ปลายและขอบแห้ง สาหรับมะเขือเทศแสดงอาการขาดธาตุโมลิบดินัมที่ใบส่วนล่าง โดยขอบใบหงิกงอ ดอกร่วงและผลแคระแกรนเติบโตไม่เต็มที่

7. ธาตุคลอรีน
ธาตุนี้มักพบในรูปของสารประกอบของเกลือโซเดียม โดยเฉพาะดินเค็มในแถบชายฝั่งทะเล และดินเค็มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยคลอรีนมีความสำคัญต่อกระบวนการสังเคราะห์แสง ช่วยให้พืชแก่เร็วขึ้น พืชที่ขาดธาตุคลอรีนจะมีใบซีด เหี่ยว และใบมีสีเหลือง แต่พืชได้รับคลอรีนมาก ขอบใบจะแห้ง ใบเหลืองก่อนกำหนด

8. นิเกิล
นิเกิลเป็นธาตุที่สำคัญต่อเอนไซม์ Urease โดยทำหน้าที่ช่วยปลดปล่อยไนโตรเจนให้อยู่ในรูปที่พืชนำไปใช้ได้ นอกจากนี้ ยังจำเป็นต่อกระบวนการดูดซับธาตุเหล็ก ช่วยในกระบวนการงอกของเมล็ด หากนิเกิลไม่เพียงพอต่อความต้องการ พืชอาจไม่ให้ผลผลิตเต็มที่