ทองแดง (Copper) ประโยชน์ และพิษทองแดง

81384
ทองแดง

ทองแดง (copper) ถือเป็นโลหะที่ถูกใช้ประโยชน์มาตั้งแต่ยุคสัมฤทธิ์ (Bronze Age) จนถึงปัจจุบัน และเป็นโลหะที่ถูกใช้มากรองลงมาจากเหล็ก และอลูมิเนียม

ปัจจุบันมีการนำโลหะทองแดงมาใช้เป็นส่วนผสมของทอง และเงินมากขึ้น เพื่อเพิ่มคมแข็งแรง คมว คมสวยงาม และทนต่อการกัดกร่อน โดยใช้โลหะทองแดงในรูปทองแดงเจือสำเร็จรูป ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ง่าย

โลหะทองแดงบริสุทธิ์ใช้เรียกโลหะทองแดงที่มีส่วนผสมไม่เกิน 0.5% โดยน้ำหนัก และใช้คำว่า โลหะทองแดงผสมกับโลหะทองแดงที่มีทองแดงไม่ต่ำกว่า 40% แต่ไม่มากกว่า 99% โดยน้ำหนัก

คุณสมบัติทางกายภาพ เคมี และฟิสิกส์
– ธาตุทรานสิชันตัวแรกของหมู่ IB ในตารางธาตุ
– สถานะ : ของแข็ง
– โครงสร้างผลึก : Face-Centered Cubic
– เลขอะตอม : 29
– มวลอะตอม : 63.546
– รัศมีอะตอม : 0.12 nm
– การจัดเรียงอิเลคตรอน : 1s2 2s2 2p6 3s2 3d10 4s1
– มีจุดเดือด : 2567 ºC
– จุดหลอมเหลว : 1083 ºC
– ความจุความร้อนจำเพาะ : 0.092 cal/g ºC
– ความร้อนในการหลอมละลาย (ที่ 20 ºC) : 50.6 cal/g
– สัมประสิทธิ์การขยายตัวเชิงเส้น : 16.5 µ in/in ºC
– ความต้านทานไฟฟ้า (ที่ 20 ºC) : 1.673 µΩcm
– ความหนาแน่น (20 ºC) : 8.92 g/cm3
– ความแข็ง (HB) : 37
– การต้านทานแรงดึง : 16 x 106 psi
– โมดูลัสของยัง : 129.8 E:GPa
– บัคส์โมดูลัส : 137.8 K:GPa
– โมดูลัสเฉือน : 48.3 G:GPa
– อัตราส่วนของพัวซองส์ : 0.343 γ

ที่มา : [5]

คุณสมบัติทางกล (ทองแดงบริสุทธิ์ 99.9%) [2]

  สภาพหล่อ สภาพรีดร้อน สภาพรีดเย็น สภาพอบอ่อน
คมต้านทางแรงตึง (N/nm2) 15-25 24.5 43 24.5
คมยืด (%)(50mm) 25-45 4-5 40-60
การลดของพื้นที่หน้าตัด (%) ไม่เกิน 75 2-3 40-60
คมแข็ง (BHN) 35 98 42

 

สารประกอบทองแดง
ทองแดง ตามธรรมชาติพบได้มากในรูปของแร่ที่เป็นสารประกอบของซัลไฟด์ ได้แก่
– คาลโคไซด์ (chalcocite) : Cu2S
– โคเวลไลต์ (covellite) : CuS
– คาลโคไพไรต์ (chalcopyrite) : CuFeS2
– โบไมต์ (bomite) : Cu3FeS3

ปฏิกิริยาของทองแดง [2]

สารที่ทำปฏิกิริยา ลักษณะการเกิดปฏิกิริยา
ออกซิเจน ทำปฏิกิริยากับอากาศแห้งที่อุณหภูมิ 180 ºC หรือต่ำกว่า ถ้ามีคาร์บอนไดออกไซด์ และน้ำ
ไนโตรเจน ไม่ทำปฏิกิริยา
กามะถัน ทำปฏิกิริยากับอากาศแห้งที่อุณหภูมิ 180 ºC
ไฮโดรเจน ไม่เกิดปฏิกิริยาที่อุณหภูมิห้อง แต่ละลายในทองแดงหลอมเหลวได้ดี
กรดอนินทรีย์ กรดเกลือ และกรดกามะถันบริสุทธิ์ไม่กัดกร่อนทองแดง ส่วนกรดไนตริกกัดกร่อนทองแดงได้
กรดอินทรีย์ กรดอินทรีย์เจือจางกัดกร่อนทองแดงได้ช้า
ด่าง กัดกร่อนทองแดงได้เล็กน้อย
เกลือ สารที่มีสภาพด่างทั่วไปไม่กัดกร่อนทองแดง แต่แอมโมเนียที่รวมกับอากาศทำปฏิกิริยากัดกร่อนทองแดงได้

 

ทองแดงเป็นโลหะที่มีคมเหนียว และเนื้ออ่อน สามารถดัดให้มีรูปร่างตามที่ต้องการได้ มีคุณสมบัติเป็นตัวนำคมร้อนและไฟฟ้าได้ดี (รองจากเงิน) เป็นโลหะที่มีคมทนทานต่อการกัดกร่อน มีเลขออกซิเดชัน +1, +2 และ +3 แต่โดยทั่วไปพบทองแดงที่มีเลขออกซิเดชัน +1 (cuprous ion) และ +2 (cupric ion) เท่านั้น ซึ่งในสารละลายคิวปริกไอออน (Cu2+) มีความเสถียรกว่า คิวปรัสไอออน (Cu+) เนื่องจาก คิวปรัสไอออนจะเกิดออกซิเดชันและรีดักชันได้ง่ายกว่า แต่คมเสถียรของทั้ง Cu+ และ Cu2+ นั้น ขึ้นอยู่กับชนิดของไอออนลบหรือลิแกนด์ ค่าคงที่ในการละลาย และชนิดของอะตอมในผลึกด้วย

ทองแดงละลายได้ดีในกรดซัลฟูริก และกรดไนตริก รวมทั้งสารละลายแอมโมเนียมไซยาไนด์ และโปตัสเซียมไซยาไนด์ โดยคิวปริกไอออนส่วนใหญ่ละลายได้ในน้ำ คิวปริกไฮดรอกไซด์ (Cu(OH)2) สามารถตกตะกอนเป็นตะกอนเบา หรือผลึกได้ แต่เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น คิวปริกไฮดรอกไซด์อาจเปลี่ยนเป็นคิวปริกออกไซด์ (CuO) ซึ่งละลายได้ดีในกรดแก่ แต่บางครั้งอาจพบคิวปริกไอออนอยู่ในรูปคอปเปอร์ซัลเฟตที่มีน้ำเป็นองค์ประกอบอยู่ด้วย เช่น Cu2SO4.5H2O รวมทั้งทองแดงยังสามารถเกิดเป็นสารประกอบของ ซัลไฟด์ อาร์ซีไนด์ คลอไรด์ และคาร์บอเนตได้เช่นกัน

ประโยชน์ทองแดง [1], [3] อ้างถึงใน สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (2556)
ทองแดง เป็นโลหะที่มีความสำคัญในการผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้า และอิเล็กโทรนิก รวมถึงเครื่องเรือนต่างๆ เพราะมีคุณสมบัติที่ดีหลายประการ ได้แก่ เป็นโลหะที่สื่อไฟฟ้า และถ่ายเทคมร้อนได้ดี มีความทนทานต่อการกัดกร่อนสูง สามารถรีดขึ้นรูปได้ง่าย อุตสาหกรรมที่มีการใช้ทองแดง ได้แก่
– อุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้า และอิเลคทรอนิกส์
– อุตสาหกรรมเครื่องประดับ
– อุตสาหกรรมก่อสร้าง
– อุตสาหกรรมยานยนต์
– อุตสาหกรรมผลิตเครื่องใช้ เครื่องเรือน
– อุตสาหกรรมเครื่องทำความเย็น
– อุตสาหกรรมการผลิตกระป๋องบรรจุภัณฑ์

สารประกอบทองแดง ประเภทอุตสาหกรรม
1. คิวปริกออกไซด์ (CuO) ใช้เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา (catalyst) ส่วนประกอบแบตเตอร์รี่ สี ผลิตสารฆ่าแมลง และการเชื่อมโลหะ
2. คิวปรัสออกไซด์ (Cu2O) ใช้ผลิตสารฆ่าเชื้อรา สารกันเสียในสี เซลโฟโตอิเลคทริก (photoelectric cells) ใช้ทำตัวเร่งปฏิกิริยา ทำเม็ดสีในแก้ว และกระจกเงา
3. คิวปริกอะซีเตต (Cu(C2H3O2)2 . H2O) ผลิตเม็ดสี สารฆ่าเชื้อรา สีย้อมผ้า ดอกไม้ประดับ
4. คิวปริกอะซีโตอาร์ซีไนท์

(Cu3As2O3Cu(C2H2)2)

ผลิตสารฆ่าแมลง และสีที่ใช้ในทะเล
5. คิวปริกอาซีเนต (CuHAsO3) ผลิตเม็ดสี สารรักษาเนื้อไม้ สารฆ่าเชื้อรา แมลงและหนู
6. คิวปริกคาร์บอเนต (CuCO3) ช่วยรักษาเมล็ดพันธุ์ ผลิตสารฆ่าเชื้อรา ทำดอกไม้เพลิง ผลิตเม็ดสี สารเติมแต่งในอาหาร (feed additive)
7. คิวปริกคลอไรด์ (CuCl2 . 2H2O) เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา สารที่ใช้ติดสีย้อม ตัวดึงซัลเฟอร์และใช้ดับกลิ่นของสารปิโตรเลียม ทำน้ำหมึก การชุบโลหะ ถ่ายภาพ เม็ดสี รักษาเนื้อไม้ สารป้องกันเชื้อรา
8. คิวปริโครเมต (CuCrO4) สารฆ่าเชื้อรา รักษาเมล็ดพันธุ์ รักษาเนื้อไม้ รักษาเส้นใย และสิ่งทอ
9. คิวปริกไฮดรอกไซด์ (Cu(OH)2) การผลิตเส้นใยสังเคราะห์ (rayon) แบตเตอร์รี่ อิเลคโทรด สารที่ใช้ติดสีย้อม เม็ดสี สารฆ่าเชื้อรา แมลง ตัวเร่งปฏิกิริยา สารเติมแต่งในอาหาร รักษากระดาษ
10. คิวปริกไนเตรต (Cu(NO3)2 . H2O) การอัดรูปภาพ สารให้สี สารที่ใช้ติดสีย้อม ใช้ขัดเงาทองแดง สังกะสี และอลูมิเนียม สารรักษาเนื้อไม้ กาจัดวัชพืช เชื้อรา ผลิตดอกไม้ไฟ
11. คิวปริกซัลเฟต (CuSO4. 5H2O) สารฆ่าเชื้อรา แบคทีเรีย กาจัดสาหร่าย สีย้อม การฟอกหนัง สารรักษาเนื้อไม้ การชุบโลหะ
12. คิวปรัสไซยาไนด์ (CuCN) การชุบโลหะ สารฆ่าเชื้อรา แมลง สารกันเสียในสี ตัวเร่งปฏิกิริยาโพลีเมอร์ไรเซชัน (polymerization catalyst)
13. คิวปริกทังสะเตต (CuWO4) และ

คิวปรัสซีลีไนท์ (Cu2Se)

สารกึ่งตัวนำ (semiconductors)

 

ประโยชน์ของทองแดงต่อร่างกาย
ทองแดงเป็นธาตุที่มีคมจำเป็นต่อสิ่งมีชีวิต เนื่องจากมีส่วนช่วยในการเจริญเติบโตของเซลล์ รวมถึงเป็นองค์ประกอบของเอ็นไซม์ และเป็นสารประกอบที่สำคัญในโครงสร้างต่างๆ ของร่างกาย

ปริมาณทองแดงในร่างกายของคนปกติมีค่าประมาณ 80-120 มิลลิกรัม และถูกสะสมมากที่ตับ และสมอง โดยทองแดงมีบทบาทโดยตรงกับปริมาณเหล็กในร่างกาย พบว่า ร้อยละ 95 ของทองแดงในพลาสมาทำหน้าที่จับกับเซอรูโลพลาสมิน ทำให้เปลี่ยนเหล็กในพลาสมาจาก ferrous ion เป็น ferric ion แล้ว ferric ion เข้าจับกับ apotranferrin กลายเป็น transferrin ทำหน้าที่ในการขนถ่ายเหล็กบนเมล็ดเลือดแดง

ทองแดงเป็นองค์ประกอบหนึ่งของเอนไซม์หลายชนิด โดยเฉพาะเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์กรดอะมิโน ในเนื้อเยื่อคอลลาเจน (collagen) และอีลาสติน (elastin) รวมถึงเอนไซม์ที่สังเคราะห์นอร์อีพิเนฟฟริน (norepinephrine) และโดปามิน (dopamine) และเอนไซม์ที่ใช้ในการสร้าง และรักษาไมเอลิน (myelin) รวมถึงบทบาทสำคัญในการสร้างภูมิคุ้มกัน การแข็งตัวของเลือด และเมทาบอลิซึมของคอลเลสเตอรอล [4]

พิษของทองแดงต่อร่างกาย
ทองแดง เป็นโลหะหนักที่สามารถถูกดูดซึมได้ในลำไส้ส่วนบน ซึ่งซึมผ่านบริเวณผนังลำไส้ และเคลื่อนที่ไปที่ตับ ก่อนรวมตัวกับน้ำดี และหลั่งมาพร้อมกับน้ำดีมาที่ลำไส้ แล้วขับออกไปพร้อมกับอุจจาระหรืออาจถูกดูดกลับเข้าสู่ร่างกายได้อีกประมาณ 30% ก่อนเข้าสะสมที่กระดูก เนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อ เนื้อเยื่อตับ และสมอง โดยสะสมมากที่สุดในตับ และสมอง

หากร่างกายได้รับทองแดงในปริมาณมาก และเกินความต้องการของร่างกาย ทองแดงจะก่อความเป็นพิษขึ้น ได้แก่ ทำให้เกิดอาการคลื่นเหียนอาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย เกิดการอักเสบของเนื้อเยื่อในช่องท้อง และกล้ามเนื้อ เลือดออกในกระเพาะ เกิดโรคโลหิตจาง หัวใจทำงานผิดปกติ ภูมิคุ้มกันร่างกายเสื่อม และเกิดความผิดปกติทางจิต

ถ้าได้รับทองแดงติดต่อกันเป็นเวลานาน ทำให้เกิดพิษเรื้อรัง ตับ และไตทำงานผิดปกติ ไม่สามารถขับทองแดงออกได้ จนทำให้เกิดโรคที่เรียกว่า โรควิลสัน (Wilson’ Diseases) โดยผู้ป่วยมีการสะสมทองแดงในตับมากกว่าปกติ เนื่องจากร่างกายไม่สามารถขับทองแดงออกทางท่อน้ำดีเข้าสู่ลำไส้ได้ และเมื่อตับมีทองแดงอิ่มตัว ทองแดงจะแทรกซึมเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้ทองแดงไปพอกอยู่ตามอวัยวะต่างๆ ที่สำคัญ เช่น สมอง กระจกตา และไต ซึ่งทำให้อวัยวะเหล่านี้พิการได้ ส่วนอาการภายนอกที่แสดงออก คือ กล้ามเนื้อตามร่างกายสั่นอยู่ตลอดเวลา พบอาการกล้ามเนื้อเกร็ง มีการไหลของน้ำมูก และน้ำลาย ผู้ป่วยพูดจาลำบาก แต่ความรุนแรงจะแตกต่างกันในแต่ละคน ขึ้นอยู่กับปริมาณที่สะสม และระยะเวลาที่ได้รับ [1] อ้างถึงใน โชคชัย ยะชูศรี (2536), [3] อ้างถึงใน กรมควบคุมมลพิษ (2548)

ร่างกายคนเราหากได้รับทองแดงมากกว่าวันละ 16-23 มิลลิกรัม/วัน ร่างกายไม่สามารถกำจัดออกได้หมด และเกิดการสะสมในตับ และสมอง ผลเฉียบพลันทำให้เกิดการอาเจียน เม็ดเลือดถูกทำลาย และเสียชีวิตได้ และหากสะสมมากจะส่งผลทำให้เกิดความดันโลหิตสูง เกิดความเป็นพิษทำลายเซลล์จนตาย รวมถึงเปลี่ยนแปลงชีวเคมีภายในเซลล์ เกิดความของพันธุกรรม และโครโมโซม จนเป็นสาเหตุทำให้เกิดมะเร็ง เป็นตัวการทำให้เกิด [3] อ้างถึงใน ทรงพล (2556), [4] อ้างถึงในเอกสารหลายฉบับ

ความต้องการทองแดงของร่างกาย

อายุ ปริมาณทองแดง (มิลลิกรัม/วัน)
3-5 เดือน 0.5-0.7
6-11 เดือน 0.7-1.0
1-6 ปี 1.0-2.0
7-9 ปี 2.0-2.5
10 ปี ขึ้นไป 2.0-3.0

 

แหล่งอาหารที่ให้ทองแดง
1. แหล่งอาหารที่มีทองแดงประมาณ 0.3-2.0 มิลลิกรัม/100 กรัม หรือมากกว่า ได้แก่ ตับ ไต อาหารทะเล เมล็ดธัญพืช และผลไม้เปลือกแข็ง เป็นต้น
2. แหล่งอาหารที่มีทองแดงประมาณ 0.1-0.3 มิลลิกรัม/100 กรัม ได้แก่ ผัก และผลไม้ทั่วไป
3. แหล่งอาหารที่มีทองแดงน้อยกว่า 0.1 มิลลิกรัม/100 กรัม ได้แก่ ปลา และไก่

สาเหตุการขาดสังกะสี
1. ได้รับจากอาหารไม่เพียงพอ
– อดหรืองดอาหารทางระบบทางเดินอาหารบ่อย
– ได้รับสารอาหารที่มีทองแดงไม่เพียงพอ ทั้งทางสายเลือด และการกิน
– เกิดจากโรคบางอย่าง อาทิ โรคไตวาย และโรคขาดโปรตีน และพลังงาน เป็นต้น

2. การย่อย และการดูดซึมอาหารผิดปกติ
– มีสารขัดขวางการดูดซึม อาทิ ไยอาหาร ไฟเตต สังกะสี วิตามินซี และยาบางชนิด เช่น ยาลดกรด
– ภาวะการดูดซึมบกพร่อง เช่น โรคท้องร่วง
– โรคทางพันธุกรรม เช่น โรคเมนเดส์ และโรควิลสันส์

3. วัยที่ต้องการเพิ่มขึ้น แต่ได้รับปริมาณเท่าเดิม
– หญิงตั้งครรภ์ และให้นมบุตร
– ทารกหลังคลอด
– ร่างกายมีเมทาบอลิซึมสูงเกินผิดปกติ

4. เกิดภาวการณ์ขับทองแดงมากผิดปกติ เช่น การได้รับสารคีเลต

อาการขาดทองแดง
1. เกิดภาวะหรือโรคโลหิตจาง
2. เกิดภาวะนูโทรฟีเนีย (neutropenia) และลูโคฟีเนีย (leukopenia)
3. เกิดภาวะกระดูกพรุน กระดูกแตกหรือหักง่าย
4. หลอดเลือดยืดหยุ่นน้อยลง ทำให้หลอดเลือดแตกง่าย มีภาวะเลือดคั่งในเนื้อเยื่อหรืออวัยวะต่างๆ
5. ภูมิต้านทานลดต่ำ ติดเชื้อ และป่วยได้ง่าย
6. ระดับคอลเลสเตอรอลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น
7. เกิดภาวะทนต่อน้ำตาลกลูโคสผิดปกติ

ที่มา : [4] อ้างถึงในเอกสารหลายฉบับ

การกำจัดทองแดงในน้ำเสีย
กฎหมายไทยได้กำหนดให้โรงงานอุตสาหกรรมปล่อยน้ำทิ้งที่มีปริมาณทองแดงได้ไม่เกิน 2 mg/L โดยทองแดงในน้ำเสียนั้นพบได้ในหลายรูปแบบ เนื่องจากกระบวนการทางเคมี และการผลิตที่แตกต่างกัน ซึ่งอาจอยู่ในรูปของเกลือหรือตัวเร่งปฏิกิริยาทำให้ต้องเลือกใช้วิธีที่มีคมเหมาะสมในการกาจัด ส่วนมากนิยมใช้วิธีทำให้ตกตะกอนหรือการนำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งประกอบด้วยกระบวนการแลกเปลี่ยนไอออน (ion exchange) การระเหย (evaporation) และกระบวนการทางไฟฟ้า (electrodialysis) เป็นต้น

การแลกเปลี่ยนไอออนด้วย เรซินเป็นวิธีที่มีค่าใช้จ่ายสูง แม้ว่าเรซินที่ใช้แล้วสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีกโดยการทำรีเจนเนอเรชัน (regeneration) ด้วยกรด แต่เมื่อใช้งานไปนานๆ ประสิทธิภาพของเรซินจะค่อยๆลดลง จนไม่สามารถนำกลับมาใช้ได้อีก และกระบวนการแลกเปลี่ยนไอออน และการดูดซับด้วยถ่านกำมันต์ (activated carbon) ซึ่งเหมาะเฉพาะกับน้ำเสียที่มีทองแดงน้อยกว่า 200 mg/L ส่วนกระบวนการตกตะกอนของทองแดง ณ pH ที่เป็นด่างด้วยการเติมสารเคมี ได้แก่ โซดาไฟ (NaOH) เพื่อให้ทองแดงตกตะกอนในรูปคิวปริกไฮดรอกไซด์นั้น เกิดได้ดี เมื่อ pH อยู่ในช่วงประมาณ 9.0 – 10.3

การตกตะกอนทางเคมี (Chemical Precipitation)
1. การตกตะกอนด้วยไฮดรอกไซด์
เป็นการตกตะกอนทองแดงให้เป็นผลึกแบบดั้งเดิม โดยใช้สารเคมี 2 ชนิด คือ ปูนขาวหรือแคลเซียมไฮดรอกไซด์ (Ca(OH)2) และโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) ดังสมการด้านล่าง

Cu2+ + 2 NaOH = Cu(OH)2 (s) + 2Na+

2. การตกตะกอนด้วยซัลไฟด์
เป็นการตกตะกอนทองแดงด้วยสารประกอบของซัลไฟด์ ซึ่งเกิดปฏิกิริยา ดังสมการด้านล่าง ได้แก่
– โซเดียมซัลไฟด์ (Na2S)
– โซเดียมไฮโดรเจนซัลไฟด์ (NaHS)
– เฟอรัสซัลไฟด์ (FeS)

Cu2+ + Na2S = CuS (s) + 2Na+

การแลกเปลี่ยนไอออน (Ion exchange)
กระบวนการแลกเปลี่ยนประจุสามารถแยกทองแดงออกจากน้ำได้ โดยอาศัยเรซินซึ่งทำหน้าที่แลกเปลี่ยนประจุ ได้แก่
– เรซินที่มีประจุบวก เรียกว่า cation exchange resin
– เรซินกรดแก่ ซึ่งรวมอยู่กับ sulfonic acid (ReSO3 H+) ดังสมการที่ 1
– เรซินกรดอ่อน ซึ่งรวมอยู่กับ carboxylic acid (ReCOOH) ดังสมการที่ 2

n ReSO3 H+ + Cu2+ = (ReSO3)nCu + nH+
n ReCO2 H+ + Cun+ = (ReCO2)n + nH+

โดย Re = resin

หลังจากใช้เรซินแลกเปลี่ยนประจุกับทองแดงแล้ว เรซินสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ด้วยกระบวนการล้างเรซินด้วยกรด (H+) สารละลายกรดเจือจางที่นิยมใช้ คือ กรดไฮโดรคลอริก (HCl) ดังสมการด้านล่าง

(ReSO3)n M + n HCl = n Re SO3 H+ + n Cl + Mn+

ที่มา : [3]

เอกสารอ้างอิง
[1] เบญจวรรณ วงศ์ศิริ, 2547, การกำจัดตะกั่วและทองแดงจากน้ำเสีย-
โดยซิลิกาเจลที่ใช้แล้วเคลือบด้วยเหล็กออกไซด์.
[2] สุทัศน์ ยอดเพชร, 2545, การศึกษาเทคนิคการผลิตทองแดงเจือ-
เพื่อเป็นโลหะเจือหลักสำหรับการผลิต-
ตัวเรือนเครื่องประดับโลหะเงินเจือ.
[3] กนกพร สุพงษ์, 2558, การกำจัดทองแดงไอออนในน้ำเสียห้องปฏิบัติการ-
ด้วยปฏิกิริยารีดอกซ์ร่วมกับอิเลคโตรกราวิเมตรี.
[4] สุภาวดี หุ่นสวัสดิ์, 2539, ปริมาณสังกะสีและทองแดงในอาหาร-
สำหรับผู้ป่วยในโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช พอ.
[5] สมาคมผู้ค้าอัญมณีไทยและเครื่องประดับ, 2542, โครงการพัฒนาบุคลากรในสถาบันการศึกษา-
ที่เปิดสอนในสาขาวิชาอัญมณีและเครื่องประดับ.