แคลเซียมคลอไรด์ (CaCl2)

73902

แคลเซียมคลอไรด์ (CaCl2) มีลักษณะเป็นผลึกสีขาว ใช้มากในงานอุตสาหกรรมทั่วไป อุตสาหกรรมอาหาร และอุตสาหรรมการเกษตร เป็นสารที่ดูดซับความชื้น และละลายได้ดีในน้ำ เมื่อละลายน้ำจะเกิดกรดไฮโดรคลอริก และเกิดแคลเซียมประจุบวก มักใช้ในรูป CaCl2.2H2O หรือ CaCl2.6H2O

ลักษณะจำเพาะ (ประหยัด, 2546)(1)
– สถานะ : ของแข็ง สีขาวเงิน
– จุดหลอมเหลว : 851 องศาเซลเซียส
– ความร้อนในการหลอมเหลว : 2.23 kcal/mol
– จุดเดือด : 1,482 องศาเซลเซียส
– ความร้อนในการกลายเป็นไอ : 36.7kcal/mol ที่ 1,482 องศาเซลเซียส
– ความหนาแน่น : 1.54 g/cc ที่ 20 องศาเซลเซียส
– ความร้อนเมื่อเผาไหม้ : 151.9 cal/g
– ละลายได้ดีในน้ำ ได้กรดแก่ ไฮโดรคลอริก ดังสมการ

CaCl2 + H2O = CaO + 2HCl

การผลิตแคลเซียมคลอไรด์
แคลเซียมคลอไรด์ส่วนใหญ่ได้มาจากกระบวนการเตรียมโซดาแอช (Na2CO3)

cacl

ประโยชน์แคลเซียมคลอไรด์ 
– งานเทคอนกรีตนิยมใช้แคลเซียมคลอไรด์เป็นสารเร่งการแข็งตัว และเพิ่มกำลังรับแรงอัดของคอนกรีตในช่วงอายุต้นๆ
– สารละายแคลเซียมคลอไรด์นิยมใช้รักษา และยืดอายุผลผลิตทางการเกษตร เช่น ผัก ผลไม้หลายชนิด โดยการฉีดพ่นสารละลายทั้งก่อน และหลังการเก็บเกี่ยว หรือจุ่มผลผลิตในสารละลายโดยตรง
– ในอุตสาหกรรมบางชนิด นิยมใช้แคลเซียมคลอไรด์สำหรับดูดซับความชื้นหรือดูดซับน้ำออกจากตัวทำละลาย
– ในอุตสาหกรรมอาหารผลไม้กระป๋อง นิยมใช้แคลเซียมคลอไรด์เพื่อเพิ่มความกรอบให้แก่ผลไม้
– ในอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์ นิยมใช้แคลเซียมคลอไรด์เพิ่มความนุ่มของผลิตภัณฑ์เนื้อต่างๆ เช่น เนื้อโค เนื้อไก่ เป็นต้น
– ในอุตสาหกรรมบางชนิด นิยมใช้แคลเซียมคลอไรด์สำหรับสำหรับยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ในอาหาร
– ในอุตสาหกรรมอาหารบางชนิด นิยมใช้แคลเซียมคลอไรด์เพื่อเพิ่มรสชาติ และสกัดโปรตีนออกจากเนื้อ เช่น การผลิตไส้กรอก การผลิตเนื้อหมัก

พิษแคลเซียมคลอไรด์ 
– สามารถกัดกร่อนโลหะให้เกิดสนิม หากใช้ในงานเทคอนกรีตมักทำให้คอนกรีตมีการหดตัว และคอนกรีตมีความต้านทานซัลเฟตลดลง
– สารละลายมีฤทธิ์เป็นกรด (กรดไฮโดรคลอริก) ทำให้เกิดการระคายเคืองเมื่อสัมผัส ทั้งบริเวณผิวหนัง และตา หากสัมผัสกับสารละลายที่มีความเข้มข้นมากจะทำให้เกิดอาการระคายเคืองอย่างรุนแรงทำให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้นตายได้
– การใช้แคลเซียมคลอไรด์ในผลิตภัณฑ์ผัก ผลไม้ และอาหารทุกชนิด อาจมีการตกค้างของคลอรีนทำให้เกิดความเป็นพิษได้ นอกจากนั้น ผลของการตกค้างของคลอรีนมักทำให้อาหารมีกลิ่นไม่น่ารับประทาน และมีรสขม

ข้อควรระวังในการใช้
1. ขณะใช้ต้องสวมผ้าปิดจมูก แว่นตากันสารเคมี สวมเสื้อผ้า รองเท้าบูท สวมถุงมือ และอุปกรณ์ป้องกันสารเคมีอื่นๆทุกครั้ง
2. เมื่อละลายน้ำไม่ควรสูดดม เพราะจะได้รับไอระเหยของคลอรีนได้ง่าย
3. ระวังการสัมผัสกับโลหะทุกชนิด เพราะจะเกิดการกัดกร่อน

เอกสารอ้างอิง
untitled