สีทาเล็บ/น้ำยาทาเล็บ ส่วนผสม และอันตรายจากสีทาเล็บ

33432

สีทาเล็บ หรืออาจเรียก น้ำยาทาเล็บ (nail varnish/nail lacquer) เป็นผลิตภัณฑ์ที่สำคัญ และนิยมใช้มากที่สุด ในกลุ่มของเครื่องสำอางสำหรับเล็บ โดยองค์ประกอบหลัก คือ lacquer base และสี รวมถึงสารเติมแต่งอื่นๆ ที่อาจเติมลงผสมหรือผลิตออกมาแยกชุด อาทิ Base coats และ Top coats

น้ำยาทาเล็บอาจใช้เรียกผลิตภัณฑ์ที่เป็นสีทาเล็บได้เช่นกัน เพราะสีทาเล็บถือเป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งของน้ำยาทาเล็บ ซึ่งน้ำยาทาเล็บมีความหมายกว้างครอบคลุมน้ำยาหรือสารเคมีทุกชนิดที่เกี่ยวข้องกับการตกแต่งเสริมสวยเล็บ อาทิ น้ำยาเคลือบเงา น้ำยาเพิ่มความแข็งแรง เป็นต้น

%e0%b8%aa%e0%b8%b5%e0%b8%97%e0%b8%b2%e0%b9%80%e0%b8%a5%e0%b9%87%e0%b8%9a1

ส่วนผสมของสีทาเล็บ/น้ำยาทาเล็บ
ส่วนผสมพื้นฐานของสี (Lacquer base) ได้แก่
1. Film formers
Film formers เป็นสารที่ช่วยป้องกันน้ำ และเพิ่มความแข็งแรงของน้ำยาหลังแห้งแล้ว สารที่ใช้ คือ nitrocellulose ซึ่งเตรียมได้จากปฎิกริยาของ nitic acid ของกรดซัลฟุริคกับฝ้าย สามารถตรวจสอบเกรดต่างๆ ของ nitrocellulose จากความหนืด อาจเตรียมสีทาเล็บจาก 15% ของสารละลาย nitrocellulose ที่มีความหนืด 300-400 cp ฟิล์มที่ได้จาก nitrocellulose สามารถกันน้ำได้ เหนียว แข็ง และทนทานต่อการขูดขีด และถ้าใช้ nitrocellulose เดียวๆ จะมีข้อเสียคือฟิล์มจะด้าน หด และเปราะในที่สุด จึงมีการใช้ส่วนประกอบอื่นๆ ร่วม

2. Resins
Resins เป็นส่วนผสมที่ใช้เพื่อให้ได้ฟิล์มของสีทาเล็บที่มีความมันวาว ไม่ด้าน และแข็ง ซึ่งได้แก่ resins ของ aryl sulphonamide formaldehyde ซึ่งนอกจากได้ฟิล์มที่มันวาวแล้วยังทำให้ฟิล์มทนทานต่อน้ำสบู่ และผงซักฟอก resins นี้ มีชื่อทางการค้าว่า santolite MHP ซึ่งให้ฟิล์มที่แข็ง ส่วน santolite MS80 ให้ฟิล์มที่เหนียวกว่า ช่วยให้ฟิล์มที่เกิดจาก nitrocellulose ทนต่อความชื้น ลดการอมน้ำของฟิล์มที่จะทำให้ฟิล์มมีสีขาว อัตราส่วนที่ใช้ nitrocellulose : resins เท่ากับ 2 : 1 resins ยังช่วยลดจำนวนครั้งการใช้ยาทาเล็บ เพื่อให้ได้ความหนาที่เท่ากัน resins ตัวอื่นๆ ที่ใช้ได้แก่ nylon, maleic alkyd resina, styrene alkyds, urea formaldehyde และ acrylics เป็นต้น

3. Plasticizers
Plasticizers เป็นสารที่ใช้เพื่อให้ได้ฟิล์มที่เกิดขึ้นติดเล็บหลังจากตัวทำละลายระเหยไปแล้ว ทั้งยังได้ฟิล์มที่ยืดหยุ่น ไม่เกราะง่าย ไม่ลอกออก ฟิล์มที่ได้มีความวาว และช่วยในการไหลของสีทาเล็บ plasticizers ที่ใช้มี 2 กลุ่ม คือ
1. Solvent plasticizers ซึ่งเป็นตัวทำละลายของ nitrocellulose ได้แก่ esters ที่มาน้ำหนักโมเลกุลสูง จุดเดือดสูง และการระเหยต่ำ
2. Non-solvent plasticizers อาจเรียกอีกชื่อว่า softener plasticizers กลุ่มนี้ไม่ใช่ตัวทำละลายของ nitrocellulose ตำรับน้ำยาที่ใช้ plasticizers กลุ่มนี้ โดยไม่ใช้ตัวทำละลายร่วมด้วย จะมีการแยกชั้นออกมาของ plasticizers เมื่อตัวทำละลายระเหยไป จึงต้องใช้ร่วมกับ plasticizers กลุ่มแรกเช่นการใช้ castor oil ร่วมกับ plasticizers กลุ่มแรก ในอัตราส่วน 1 : 1 จะให้ฟิล์มเหนียว และแข็ง

การเลือกใช้ plasticizers จะต้องคำนึงถึง ความหนืด อัตราการแห้ง ความยืดหยุ่นของฟิล์ม การติดเล็บ และความวาวของฟิล์มที่ได้ รวมทั้งความคงตัวต่อแสงโดยทั่วไปใช้ plasticizers ในปริมาณ 25-50% ของตำรับน้ำยา ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับปริมาณ nitrocellulose ที่มีในตำรับน้ำยา และลักษณะความยืดหยุ่นของฟิล์มที่ต้องการ ในบางครั้งอาจใช้ plasticizers ร่วมกันหลายตัว ตัวอย่าง plasticizers ที่ใช้ ได้แก่ dibutyl phthalate, phthalates, phthalyl glycolates และ citrates เป็นต้น

4. Solvents (ตัวทำละลาย)
ตัวทำละลาย มีความสำคัญต่ออัตราการแห้งของน้ำยา สมบัติที่สำคัญของตัวทำละลาย คือ จุดเดือดตัวทำละลายที่มีจุดเดือดต่ำกว่า 1,000 °C ได้แก่ acetate และ ethyl acetate ตัวทำละลายที่มีจุดเดือดปานกลาง (มีค่าระหว่าง 100-1,500 °C) ได้แก่ cellosolve และ cellosolve acetate ตัวทำละลายเหล่านี้ มีราคาแพง และโดยมากใช้ร่วมกันหลายตัวเพื่อให้ได้ตำรับน้ำยาที่ดี การใช้ตัวทำละลายที่มีจุดเดือดต่ำมากมักใช้ร่วมกับตัวทำละลายที่มีจุดเดือดสูง เพื่อช่วยยืดเวลาการแห้งให้เหมาะสมในการให้ได้แผ่นฟิล์มที่ดีเคลือบบนเล็บ

5. Diluents
สาร Diluents มักใช้เป็นส่วนผสมเพื่อลดต้นทุนการผลิตเป็นหลัก มี 3 ประเภท คือ แอลกอฮอล์, atomatic hydrocarbon และ aliphatic hydrocarbon การใช้ diluents มีขีดจำกัดสำหรับ nitrocellulose ที่เรียกว่า tolerance หรือ diluton ratio ซึ่งคือ อัตราส่วนสูงสุดของ diluent-solvent ที่ nitrocellulose ยังคงอยู่ในสภาพสารละลาย ถ้าผลิตภัณฑ์มีอัตราส่วน diluent-solvent ใกล้เคียงกับค่านี้ จะได้ตำรับน้ำยาที่มีความหนืดสูงกว่าตำรับที่มี diluent น้อย ซึ่งทำให้ได้ฟิล์มที่เรียบยาก อัตราส่วนนี้ได้จากการ tritate สารละลาย nitrocellulose ด้วย diluent จนได้สารละลายขุ่น การเลือกใช้ diluent มีผลต่อความมันของฟิล์ม

6. Suspending agents
Suspending agents เป็นส่วนประกอบที่ใช้เพื่อป้องกันการตกตะกอนของน้ำยา เป็นสารที่มีสมบัติ thixotropic Suspending agents ที่นิยมใช้ได้แก่ pretreated colloids clays เช่น benzyl dimethyl tallow ammonium montmorillonite (Bentone27) ตามปกติจะใช้ bentone ในปริมาณ 0.5-2% ในบางกรณีที่ต้องการลดปริมาณ bentone ก็ได้ แต่หากต้องการเพิ่มความหนืดของน้ำยา ให้เติมpolyvalent acid เช่น orthophosphoric acid เป็นต้น

สี (colors)
โดยปกติ สีที่ใช้ในสีทาเล็บ คือ สีประเภท insoluble lake หรือ pigments ร่วมกับ titanium dioxide ที่จะให้ความทึบความมัน และเฉดสีต่างๆตามต้องการ ส่วนสีประเภท insoluble dyes จะไม่ใช้ เนื่องจาก สีจะติดผิวหนังรอบๆ เล็บ สีที่ใช้ควรเป็นสีที่มีคุณลักษณะดีรวมทั้งต้องมีขนาดอนุภาคเล็ก ปราศจากอนุภาคปนปลอม ไม่ก่อการแพ้ และระคายเคือง และมีสมบัติในการกระจายตัวดี ตัวอย่างสี ได้แก่ D&C Red No.6, 9, 7, 30, 36, หรือ FD&C Yellow No.5, 7

นอกจาก titanium dioxide ที่จะให้สีขาวทึบแสงแล้ว iron oxide ยังให้สีน้ำตาล และได้มีการใช้dinitrobenzene ในการให้สีน้ำตาล เนื่องจาก ให้สีที่ทนต่อแสง และสดใสกว่า iron oxide การเตรียม
pigments ในรูปแขวนตะกอนจากการกระจายตัวของ color chips (คือของแข็งผสมของ
nitrocellulose สี และตัวทำละลาย ที่ผ่านการบดด้วย colliod mill) ในตัวทำละลายที่เหมาะสม โดยทั่วไปปริมาณสีที่ใช้จะอยู่ในช่วง 3-5%

สารมุก (pearlescent or nacreous pigments) ที่มาจากธรรมชาติคือ guanine ซึ่งได้จากเกล็ด และส่วนต่างๆของปลา ในท้องตลาดจะขายในรูป suspension ใน nitrocellulose-butylactate lacquer ที่มีความเข้นข้น 8 – 10% สารมุกที่ขายในท้องตลาดที่มีราคาถูกกว่า คือ สารมุกจากสารเคมีซึ่งได้แก่ bismuth oxychloride ในรูปแขวนตะกอนของ nitrocellulose-bulacetate lacquer ในความเข้นข้น 12.5 และ 25% นอกจากนี้ ยังมี mica ที่เคลือบด้วย titanium dioxide แต่ประสิทธิภาพไม่ดีเท่า bismuth oxychloride โดยมีขายในรูปแขวนตะกอนของ nitrocellulose solvent เช่นกัน

%e0%b8%aa%e0%b8%b5%e0%b8%97%e0%b8%b2%e0%b9%80%e0%b8%a5%e0%b9%87%e0%b8%9a

Base coats และ Top coats
Base coats และ Top coats เป็นส่วนผสมที่ใช้เพื่อป้องกันการแตกหักหรือร้าวของฟิล์ม nitrocellulose โดยทาน้ำยานี้ลงบนฟิล์ม nitrocellulose ทับอีกที ฟิล์มใหม่ที่เกิดขึ้นจะจับแน่นกับฟิล์ม nitrocellulose เดิมสารที่จะใช้เป็น resins ซึ่งได้แก่ phenol-formaldehyde resins, sulphonamide-formaldehyde resins, alkyd resins และ methacrylate ส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์นี้จะมี resin ในปริมาณสูงเพื่อเพิ่มการติดแน่นของแผ่นฟิล์ม ฟิล์มที่ได้แข็งแรง และแห้งเร็วกว่าฟิล์ม nitrocellulose ผลิตภัณฑ์นี้ เตรียมในรูปสารละลายใสหรือสารละลายแขวนตะกอน มีปริมาณของแข็ง และความหนืดน้อยกว่าสีทาเล็บทั่วไป มีลักษณะใส เพื่อเพิ่มความหนา และป้องกันการแตกหักของฟิล์มด้านล่าง และช่วยให้มีความมันวาว

สารอันตราย และอันตรายจากสีทาเล็บ/น้ำยาทาเล็บ
1. Toluene
Toluene เป็นสารไม่มีสี นิยมใช้เป็นตัวทำละลาย และส่วนผสมของสีทาบ้าน สีพ่น และหมึกพิมพ์ แต่นิยมใช้ผสมในสีทาเล็บเช่นกัน เพื่อใช้เป็นตัวทำละลายสารสี และช่วยให้เนื้อสีทาเล็บเนียน และแห้งเร็ว สารชนิดนี้ มักพบผลกระทบต่อสุขภาพในขณะใช้ คือ เมื่อเปิดใช้จะได้กลิ่นฉุน แสบจมูก ระคายเคืองตา ระคายเคืองตา และหากสูดดมเข้าไปจะเกิดอาการวิงเวียนศรีษะ หากสูดดมมากจะเกิดการสะสมที่ตับ และไต มีผลต่อการทำงานของระบบประสาท นอกจากนั้น ยังแพร่เข้าสทารกจนเป็นอันตรายแก่ทารกในครรภ์ได้

2. Formaldehyde
Formaldehyde จัดเป็นสารก่อมะเร็งชนิดหนึ่งที่นิยมใช้เป็นส่วนผสมของสีทาเล็บ เพราะเป็นสารที่มีคุณสมบัติช่วยเพิ่มความแข็งแรงของเล็บ และสีที่ทาแล้วได้ดี อีกทั้งมีราคาถูก สามารถลดต้นทุนการผลิตได้เป็นอย่างดี แต่มีพิษต่อร่างกาย คือ เมื่อเปิดใช้จะมีไอระเหย หากสูดดมเข้าไปจะทำให้แสบจมูก แสบคอ แสบตา ปวดศรีษะ คลื่นไส้อาเจียน และยังทำลายภูมิคุ้มกัน

3. Dibutyl phthalate (DBP)
Dibutyl phthalate เป็นสารที่นิยมใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตสี ย่าฆ่าแมลง และพลาสติก ส่วนในสีทาเล็บนิยมใช้เพื่อช่วยเพิ่มการยึดเกาะของสีกับเล็บให้ทนทานแข็งแรง ทนต่อน้ำ และการขูดขีด แต่สารนี้จัดเป็นสารก่อมะเร็งอีกชนิด รวมถึงเป็นพิษต่ออวัยวะภายใน ทั้งตับ ไต ปอด รวมถึงมีผลต่อระบบสืบพันธุ์ และสามารถแพร่ทำอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้

เอกสารอ้างอิง
1) ชนิดาฉันทวนิชย์. 2558. การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เคลือบเล็บชนิดลอกออก. มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.