วิตามินอี (Vitamin E)

21327

วิตามินอี (Vitamin E,Tocopherol) เป็นเป็นสารชีวโมเลกุลที่พบมากในพืช และสัตว์ทุกชนิด จัดเป็นสารสำคัญที่มีสรรพคุณในหลายด้าน อาทิ เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทาน และช่วยป้องกันโรคต่างๆ อาทิ โรคความดันเลือด โรคไต โรคมะเร็ง และโรคหลอดเลือดตีบ เป็นต้น

วิตามินอี เป็นแอลกอฮอล์ไม่อิ่มตัว มีสถาะนะเป็นของเหลว (น้ำมันสีเหลือง) ละลายได้ดีในไขมัน ทนต่อสภาพความร้อน และกรดได้ดี แต่เสื่อมสภาพได้ง่ายเมื่อถูกด่าง แสงแดด รังสีอุลตร้าไวโอเลต และเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันเมื่อสัมผัสกับอากาศ ซึ่งจะทำให้เกิดการเหม็นหืน โดยมีชนิด Alpha – tocopherol เป็นชนิดที่สำคัญที่สุดเนื่องจากพบมากที่สุด และต้านอนุมูลอิสระได้ดี

ประวัติวิตามินอี
วิตามินอีถูกค้นพบครั้งแรก เมื่อ ค.ศ. 1992 โดย Evans และ Bishop ที่ค้นพบโดยบังเอิญจากจากข้อสงสัยในงานทดลองกับหนูเพศเมียที่พบว่า มีสารชนิดหนึ่งทำให้หนูมีการตั้งครรภ์เป็นปกติ แต่หากได้รับไม่เพียงพอจะทำให้แท้งลูก จึงตั้งชื่อสารนั้นว่า วิตามินป้องกันการเป็นหมัน (antisterrility vitamin)

ต่อมาในปี ค.ศ. 1936 Evans และคณะ สามารถสกัด และแยกสารนั้นออกจากน้ำมันจมูกข้าวสาลีได้สำเร็จ และตั้งชื่อให้ว่า โทโคฟีรอล (tocopherol) (tocols แปลว่า บุตร phero แปลว่า ให้กำเนิด) (Wolf และคณะ, 1998.)(1)

vitamin-e

โครงสร้างวิตามินอี
โครงสร้างโมเลกุลของวิตามินอีประกอบด้วยส่วนที่มีขั่วของวงแหวนโครแมน (chroman ring) ซึ่งเป็นส่วนหัวที่เป็นส่วนที่ออกฤทธิ์เป็น antioxidant และส่วนหางของ tocopherol เป็นหมู่ที่แทนที่ด้านข้างด้วยส่วนที่ไม่มีขั้วจากหมู่ phytyl group ในขณะที่ส่วนหางของ tocotrienol เป็น polyisosophenoid group ส่วนหางนี้ ทำหน้าที่ฝังตัว และยึดเหนี่ยวกับสารไขมันในเยื่อหุ้มเซลล์ และแกนของ lipoprotein แต่ละชนิดมีความแตกต่างกันที่จำนวน และตำแหน่งของหมู่เมทิล (methyl group, -CH3) ในวงแหวนโครแมนล ตำแหน่งคาร์บอนที่ 5, 7 และ 8

vitamin-e1

ปัจจุบันมีการค้นพบทั้งหมด 8 ชนิด แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มโทโคฟีรอล (tocopherol) มี 4 ชนิด คือ
– อัลฟาโทโคฟีรอล (alpha-tocopherol)
– แกมมาโทโคฟีรอล (gamma-tocopherol)
– เบต้าโทโคฟีรอล (beta-tocopherol)
– เดลต้าโทโคฟีรอล (delta-tocopherol)

2. กลุ่มโทโคไตรอีนอล (tocotrienol)
– อัลฟาโทโคไตรอีนอล (alpha-tocotrienol)
– แกมมาโทโคไตรอีนอล (gamma-tocotrienol)
– เบต้าโทโคไตรอีนอล (beta-tocotrienol)
– เดลต้าโทโคไตรอีนอล (delta-tocotrienol)

สูตรโมเลกุลวิตามินอีแต่ละชนิด (Eitenmiller และ Lander, 1999)(2)
1. α-T
– มวลโมเลกุล : 430.71
– สูตรโมเลกุล : C29H50O2
– ความยาวคลื่นสูงสุดที่ดูดกลืน (nm) : 292
2. β-T
– มวลโมเลกุล : 416.69
– สูตรโมเลกุล : C28H48O2
– ความยาวคลื่นสูงสุดที่ดูดกลืน (nm) : 296
3. γ-T
– มวลโมเลกุล : 416.69
– สูตรโมเลกุล : C28H48O2
– ความยาวคลื่นสูงสุดที่ดูดกลืน (nm) : 298
4. δ-T
– มวลโมเลกุล : 402.66
– สูตรโมเลกุล : C27H46O2
– ความยาวคลื่นสูงสุดที่ดูดกลืน (nm) : 298
5. α-T3
– มวลโมเลกุล : 424.67
– สูตรโมเลกุล : C29H44O2
– ความยาวคลื่นสูงสุดที่ดูดกลืน (nm) : 292
6. β-T3
– มวลโมเลกุล : 410.64
– สูตรโมเลกุล : C28H42O2
– ความยาวคลื่นสูงสุดที่ดูดกลืน (nm) : 296
7. γ-T3
– มวลโมเลกุล : 410.64
– สูตรโมเลกุล : C28H42O2
– ความยาวคลื่นสูงสุดที่ดูดกลืน (nm) : 297
8. δ-T3
– มวลโมเลกุล : 396.61
– สูตรโมเลกุล : C27H40O2
– ความยาวคลื่นสูงสุดที่ดูดกลืน (nm) : 297

กลไกการทำงาน
วิตามินอีทีมีอยู่ในเซลล์จะทำหน้าที่ให้อิเล็กตรอนแก่อนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นจากกระบวนการในเซลล์ ทำให้ลดพิษของอนุมูลอิสระที่อาจเกิดอันตรายกับเซลล์ในร่างกาย และเปลี่ยนรูปของอนุมูลอิสระทำให้ร่างกายสามารถกำจัดออกในระบบต่างๆได้ดีขึ้น

ที่มา : กฤษณา รุ่งเรือง, 2521.(3)

ผลการขาดวิตามินอี
การขาดวิตามินอีของร่างกายจะประเมินจากสัดส่วนของวิตามินอีในพลาสมาต่อปริมาณไขมันทั้งหมดในพลาสมา หากพบว่ามีค่าที่น้อยกว่า 0.8 มิลลิกรัม/กรัม แสดงว่า เกิดภาวะการขาดวิตามินอี ซึ่งโดยทั่วไปเมื่อเกิดการขาดวิตามินอี ร่างกายจะมีอาการแตกต่างกันระหว่างในสัตว์ และมนุษย์
– การขาดวิตามินอีในสัตว์จะมีผลทำให้อัตราการเจริญพันธุ์ลดลง และเกิดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรง
– การขาดวิตามินอีในมนุษย์จะแสดงอาการทางระบบประสาท ได้แก่ กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง การลดลงของรีเฟรกซ์ การรับความรู้สึกของการสั่นลดลง ส่วนอาการทางโลหิตมักเกิดในทารกแรกเกิด ได้แก่ เกล็ดเลือดเกาะกันเป็นก้อน รวมถึงการเกิดมะเร็ง
ภาวะการขาดวิตามินอีของคนเรามักไม่ค่อยพบมาก แต่จะพบมากในผู้ป่วยที่มีการดูดซึมของไขมันผิดปกติ (fat malabsorption) เช่น โรคตับชนิด cholestasis และ โรคของตับอ่อน cystic fibrosis ที่เป็นมานานหลายสิบปี นอกจากนั้น ยังพบโอกาสเสี่ยงได้มากในทารกแรกคลอด เนื่องจากทารกวัยนี้มีความสามารถในการดูดซึมไขมันต่ำ

ผลข้างเคียงจากการรับประทานวิตามินอีในปริมาณสูง และติดต่อเป็นเวลานาน ยังไม่มีการศึกษาที่มากนัก โดยมีรายงานการใช้วิตามินอีขนาดน้อยกว่า 2000 ยูนิต ไม่เกิดผลข้างเคียงแต่อย่างใด แต่หากพบอาการทั่วไปจากการับประทานในปริมาณสูง ซึ่งเป็นผลข้างเคียงจากวิตามินอีเอง และจากปริมาณไขมัน ได้แก่ มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง จุกแน่นท้อง ท้องเสีย อาการปวดศีรษะ ตามัว อ่อนเพลีย ระดับไขมัน cholesterol และ triglyceride ในเลือดสูง และอาจเกิดภาวะเลือดออกในสมองได้ นอกจากนั้น จะกระตุ้นอาการในผู้ป่วยที่มีเลือดออกผิดปกติ เนื่องจากวิตามินอีมีผลลดการดูดซึมของวิตามินเค และเพิ่มระดับ warfarin ในกระแสเลือดทำให้การเกาะกลุ่มกันของเกล็ดเลือดลดลง

สรรพคุณวิตามินอี
– วิตามินอีเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญในร่างกาย
– ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน เพิ่มจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาว และแอนติบอดี
– รักษาสมดุลของกลไกการทำงานของฮอร์โมนในร่างกายให้ปกติ
– รักษาโรคโลหิตจาง โดยเฉพาะในทารกแรกเกิดที่มีเม็ดเลือดแตก
– บำรุงร่างกาย รักษาโรคขาดสารอาหาร หากได้รับวิตามินอีก็มักได้รับไขมันด้วย เนื่องจากวิตามินอีสามารถละลายได้ดีในไขมัน
– ช่วยรักษาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อขา จากสาเหตุการตีบตันของหลอดเลือดทำให้กล้ามเนื้อขาดออกซิเจน
– ใช้เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอางประเภทครีมสำหรับลดริ้วรอย และจุดด่างดำ เนื่องจาก เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และช่วยกำจัดเซลล์ที่ตายแล้ว และสารอนุมูลบริเวณจุดด่างดำได้ดี

ที่มา : รวิวรรณ สิงห์แก้ว, 2554(4)

ป้องกันโรคต่างๆ (Narasinga Rao, 2001b)(5)
– โรคลิ่มเลือดในหลอดเลือด
– โรคหลอดเลือดตีบ
– โรคผนังหลอดเลือดแข็งตัว เส้นเลือดดำบวม และขอด
– โรคไตอักเสบ
– โรคมะเร็ง
– โรคความดันโลหิตสูง
– โรคไขข้ออักเสบรูมาตอยด์
– โรคหัวใจ
– อาการเป็นหมันในผู้ชาย รอบเดือดผิดปกติในผู้หญิง และแก่ก่อนวัย

การนำมาใช้
1. ใช้เป็นแหล่งอาหารเสริมวิตามินอี ในรูปของสารสกัดวิตามินอี เช่น แคปซูล
2. ใช้เป็นส่วนผสมในอาหาร เครื่องดื่ม เพื่อเสริมวิตามินอีหรือเพื่อรักษาคุณภาพอาหาร
3. ใช้เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอาง เช่น ครีมลดริ้วรอย

แหล่งวิตามินอี
วิตามินอีพบมากในผักสีเขียว เนื้อสัตว์ นม ไข่ เมล็ดธัญพืช และน้ำมันจากพืชทุกชนิด

vitamin-e2

1. ถั่วเหลือง
– ปริมาณวิตามินอีรวม : 56-160 มิลลิกรัม/100กรัม
โทโคฟีรอล (%)
– แอลฟา-α : 4-18
– เบต้า-β : ไม่พบ
– แกมมา-γ : 58-69
– เดลต้า-δ : 26
โทโคไตรอีนอล (%)
– แอลฟา-α : ไม่พบ
– เบต้า-β : ไม่พบ
– แกมมา-γ : ไม่พบ
– เดลต้า-δ : ไม่พบ

2. ข้าวโพด
– ปริมาณวิตามินอีรวม : 53-162 มิลลิกรัม/100กรัม
โทโคฟีรอล (%)
– แอลฟา-α : 11-24
– เบต้า-β : 5
– แกมมา-γ : 76-89
– เดลต้า-δ : ไม่พบ
โทโคไตรอีนอล (%)
– แอลฟา-α : ไม่พบ
– เบต้า-β : ไม่พบ
– แกมมา-γ : ไม่พบ
– เดลต้า-δ : ไม่พบ

3. มะพร้าว
– ปริมาณวิตามินอีรวม : 1-4 มิลลิกรัม/100กรัม
โทโคฟีรอล (%)
– แอลฟา-α : 14-67
– เบต้า-β : ไม่พบ
– แกมมา-γ : ไม่พบ
– เดลต้า-δ : น้อยกว่า 17
โทโคไตรอีนอล (%)
– แอลฟา-α : น้อยกว่า 14
– เบต้า-β : น้อยกว่า 3
– แกมมา-γ : น้อยกว่า 53
– เดลต้า-δ : น้อยกว่า 17

4. ปาล์ม
– ปริมาณวิตามินอีรวม : 33-73 มิลลิกรัม/100กรัม
โทโคฟีรอล (%)
– แอลฟา-α : 28-50
– เบต้า-β : ไม่พบ
– แกมมา-γ : ไม่พบ
– เดลต้า-δ : น้อยกว่า 9
โทโคไตรอีนอล (%)
– แอลฟา-α : 16-19
– เบต้า-β : 4
– แกมมา-γ : 34-39
– เดลต้า-δ : น้อยกว่า 9

5. เมล็ดปาล์ม
– ปริมาณวิตามินอีรวม : 3.4 มิลลิกรัม/100กรัม
โทโคฟีรอล (%)
– แอลฟา-α : 1.3
– เบต้า-β :  ไม่พบ
– แกมมา-γ : ไม่พบ
– เดลต้า-δ : ไม่พบ
โทโคไตรอีนอล (%)
– แอลฟา-α : 2.1
– เบต้า-β : ไม่พบ
– แกมมา-γ : ไม่พบ
– เดลต้า-δ : ไม่พบ

6. ทานตะวัน
– ปริมาณวิตามินอีรวม : 25-49 มิลลิกรัม/100กรัม
โทโคฟีรอล (%)
– แอลฟา-α : 80-94
– เบต้า-β : ไม่พบ
– แกมมา-γ : 39-52
– เดลต้า-δ : 0.8
โทโคไตรอีนอล (%)
– แอลฟา-α : ไม่พบ
– เบต้า-β : ไม่พบ
– แกมมา-γ : ไม่พบ
– เดลต้า-δ : ไม่พบ

7. ถั่วลิสง
– ปริมาณวิตามินอีรวม : 20-32 มิลลิกรัม/100กรัม
โทโคฟีรอล (%)
– แอลฟา-α : 48-61
– เบต้า-β : ไม่พบ
– แกมมา-γ : 39-52
– เดลต้า-δ : ไม่พบ
โทโคไตรอีนอล (%)
– แอลฟา-α : ไม่พบ
– เบต้า-β : ไม่พบ
– แกมมา-γ : ไม่พบ
– เดลต้า-δ : ไม่พบ

ที่มา: Chow, 1985.(6), Palm Oil Research Institute of Malaysia, 1987.(7)

ความต้องกายวิตามินอี
– ทารก และเด็กต้องการวิตามินอีประมาณ 30 IU ต่อวัน
– วัยรุ่นต้องการวิตามินอีประมาณ 30-50 IU ต่อวัน
– ส่วนคนในวัยทำงาน และหญิงที่ตั้งครรภ์ต้องการวิตามินอีประมาณ 50-100 IU ต่อวัน

อาหารเสริมวิตามินอี และคำแนะนำ
ผลิตภัณฑ์
– ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมวิตามินอีมักผลิตออกมาในรูปน้ำมันสกัดในแคปซูลที่ได้จากน้ำมันสัตว์ และพืชต่างๆ เช่น น้ำมันตับปลา น้ำมันมะพร้าว เป็นต้น
– ผลิตภัณฑ์วิตามินอีสำหรับเครื่องสำอางมักใช้เพื่อการลบริ้วรอย และจุดด่างดำเป็นสำคัญ ส่วนมากเป็นครีมสำหรับทาภายนอก

ข้อแนะนำ
1. การเก็บรักษาผลิตภัณฑ์วิตามินอี ควรเก็บในขวดทึบแสง ห้ามถูกแสงแดด และเก็บไว้ในที่เย็น
2. การรับประทานอาหารเสริมวิตามินอี สามารถรับประทานได้ทุกเมื่อ แต่ควรรับประทานพร้อมอาหารอาหารหรือหลังอาหารเพื่อให้เกิดการดูดซึมไปพร้อมกับอาหาร
3. ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานยาชนิด cholestyramine oristat ขณะรับประทานวิตามินอี เพราะยาดังกล่าวมีฤทธิ์ยับยั้งการดูดซึมวิตามินอีบริเวณลำไส้

เอกสารอ้างอิง
untitled