ลูกเหม็น และแนฟทาลีน

61024

แนฟทาลีน (Naphthalene) หรือเป็นที่รู้จักทั่วไปในรูปผลิตภัณฑ์ที่เรียกว่า ลูกเหม็น เป็นสารประกอบโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนที่ผลิตได้จากกระบวนการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม มีสถานะเป็นของแข็งสีขาว มีกลิ่นฉุนเฉพาะ

ลักษณะจำเพาะ
– สถานะ : ของแข็งสีขาว มีกลิ่นเฉพาะตัว
– สูตรโมเลกุล : C10H8
– น้ำหนักโมเลกุล : 128.17 กรัม/โมล
– ความหนาแน่น : 1.14 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร
– จุดเดือด : 218 °C 
– จุดหลอมเหลว : 80 °C
– การละลาย : ไม่ละลายในน้ำ แต่ละลายได้ดีในตัวทำละลาย เช่น เอทานอล เบนซีน อีเทอร์ คีโตน เป็นต้น
– มีความไวต่อปฏิกิริยาเคมี

Naphthalene1

การผลิต
แนฟทาลีนเป็นส่วนที่ได้จากกระบวนการกลั่นน้ำมันปิโตรเลี่ยม

ประโยชน์
1. ใช้ในห้องปฏิบัติการเคมี (Laboratory Reagent)
2. ใช้เป็นส่วนผสมของสารกำจัดกลิ่น และไล่แมลง เช่น ผลิตภัณฑ์ลูกเหม็น
3. เป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์เคมีหลายชนิด เช่น สี
4. ใช้เป็นตัวทำละลายในอุตสาหกรรมผลิตกระดาษสำเนา

Naphthalene

ข้อมูลความปลอดภัย
– ระเหิด และสลายตัวเร็วในอุณหภูมิห้อง
– สารที่เข้ากันไม่ได้ ได้แก่ สารออกซิไดส์รุนแรง
– ควรหลีกเลี่ยงจากแหล่งความร้อน และจุดติดไฟ
– การสลายตัวเกิดคาร์บอนมอนนอกไซด์ และคาร์บอนไดออกไซด์
– ไม่เป็นสารไวไฟ แต่ติดไฟได้

ครึ่งชีวิตของแนฟทาลีน (กรมควบคุมมลพิษ, 2543)(1)
1. ในอากาศ มีค่าครึ่งชีวิต 2.96-29.6 ชั่วโมง คำนวณจากปฏิกิริยาออกซิเดชันโดยแสง
2. ในน้ำผิวดิน มีค่าครึ่งชีวิต 12-480 ชั่วโมง (20 วัน) คำนวณจากปฏิกิริยาการย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ในน้ำแบบใช้ออกซิเจน
3. ในน้ำใต้ดิน มีค่าครึ่งชีวิต 24-6,192 ชั่วโมง (258 วัน) คำนวณจากปฏิกิริยาการย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ในน้ำแบบใช้ออกซิเจน และแบบไม่ใช้ออกซิเจน
4. ในน้ำใต้ดิน มีค่าครึ่งชีวิต 398-1,152 ชั่วโมง (16.6-48 วัน) คำนวณจากวิธี soil die-away test แบบใช้ออกซิเจน

ความเป็นอันตรายต่อร่างกาย
– จัดเป็นสารก่อมะเร็ง
– ไอระเหิดทำให้เกิดการระคายเคืองต่อตา และผิวหนัง
– ความเป็นพิษต่อตาทำให้เกิดอาการแสบตา และแพ้แสง
– ไอระเหิดมีพิษต่อระบบประสาท ยับยั้งการทำงานของระบบหายใจ
– เป็นสารก่อภูมิแพ้
– ยับยั้งการส่งผ่านสารในระดับเซลล์
– กระตุ้นการแลกเปลี่ยนชิ้นส่วนโครโมโซมคู่
– ออกฤทธิ์ทำลาย และลดระดับอิมมูโนโกลบลูลินเอ และอิมมูโนโกลบลูลินจีในระบบภูมิคุ้มกัน
– ออกฤทธิ์ทำลายฮีโมโกลบิลในเม็ดเลือดแดง ทำให้เกิดโรคโลหิตจาง

การใช้งาน
การใช้งานแนฟทาลีนที่พบโดยทั่วไปในภาคครัวเรือน ได้แก่ การใช้เป็นสารไล่แมลง และดับกลิ่นในห้องน้ำ ตู้เสื้อผ้า และที่มุมอับ เป็นต้น

การจัดเก็บ
– เก็บในภาชนะที่ปิดมิดชิดในบริเวณที่เย็น แห้ง และควรห่างจากสารออกซิไดซ์ และแหล่งจุดติดไฟ

เอกสารอ้างอิง
1. กรมควบคุมมลพิษ, 2543. พีเอเอช (PAH). บริษัท วีรณาเพรส จำกัด. กรุงเทพฯ.