น้ำมันเกียร์ออโต้/น้ำมันเกียร์อัตโนมัติ

29047

น้ำมันเกียร์ออโต้ หรือเรียก น้ำมันเกียร์อัตโนมัติ เป็นผลิตภัณฑ์สำหรับกระปุกเกียร์แบบอัตโนมัติ ประกอบด้วยน้ำมันล่อลื่นชนิดพิเศษ และสารเติมแต่งหลายชนิด อาทิ สารปรับสภาพความหนืด สารป้องกันการกัดกร่อน และการทำปฏิกิริยาของออกซิเจน สารต้านการเกิดฟอง สารเพิ่มแรงกด เป็นต้น

หน้าที่ของน้ำมันเกียร์
1. ถ่ายกำลังจากปั๊มไปยังกังหันในทอร์คคอนเวอร์เตอร์
2. ถ่ายพลังไฮโดรลิคไปควบคุมการทำงานของคลัตซ์ และอุปกรณ์ภายในกระปุกเกียร์
3. ถ่ายเทความร้อนจากกระปุกเกียร์ออกสู่ภายนอก
4. ล่อลื่นแบริ่ง คลัตซ์ เฟือง บุช และอุปกณ์ส่วนอื่นๆภายในกระบุกเกียร์
5. ป้องกันการสึกกร่อนของโลหะภายในกระปุกเกียร์

คุณสมบัติน้ำมันเกียร์
1. ไม่ทำปฏิกิริยาหรือกัดกร่อนวัสดุในกระปุกเกียร์ เช่น โลหะ ยาง พลาสติกหรือวัสดุอื่นๆ
2. ไม่ติดไฟ ไม่เสื่อมสภาพ และทนต่อความร้อนได้สูง
3. ป้อกันการเกิดสนิม ป้องกันความชื้น อันเป็นสาเหตุทำให้เกิดฟองตามมา
4. ไม่มีความหนืดมาก มีลักษณะใสที่อุณหภูมิต่ำ สามารถแทรกซึมผ่านวาล์วหรือช่องว่างต่างๆได้

เกียร์อัตโนมัติ

ชนิดน้ำมันเกียร์ออโต้
1. น้ำมันเดกซ์รอน II โดยจะลื่นมากกว่าน้ำมันเดกซ์รอน F ทำให้เมื่อมีการเปลี่ยนเกียร์จะรู้สึกนิ่มมากกว่า
2. น้ำมันเดกซ์รอน F เหมาะสำหรับเกียร์อัตโนมัติที่มีระบบล๊อกของทอร์คคอนเวอร์เตอร์เพื่อป้องกันการลื่นของคลัตซ์ เป็นน้ำมันเกียร์ที่เพิ่มประสิทธิภาพทางความฝืดสูง

ตัวอย่างคุณสมบัติน้ำมันเกียร์อัตโนมัติเอกิป (Agip F-1 ATF Dexron)
1. ความข้นใส (cSt)
– ที่ 210 องศาฟาเรนไฮด์ : 7.5
– ที่ 100 องศาฟาเรนไฮด์ : 42

2. ความข้นใสแบบบรุ๊กฟิลด์ (cP)
– ที่ -40 องศาฟาเรนไฮด์ : 45000
– ที่ -10 องศาฟาเรนไฮด์ : 3500

3. ความข้นใสแบบ ASTM D2270 : 160
4. จุดวาบไฟ : 180 องศาเซลเซียส
5. จุดไหลเท : -40 องศาเซลเซียส
6. สี: สีแดง
7. ความถ่วงจำเพาะที่ 15 องศาเซลเซียส :0.885

ตัวอย่างน้ำมันเกียร์อัตโนมัติ
1. ATF Dexron II ใช้สำหรับเกียร์อัตโนมัติของรถยนต์ทั่วไป และใช้สำหรับเกียร์ผ่อนำกำลัง
2. โดแนกซ์ TM ใช้สำหรับเกียร์อัตโนมัติ เกียร์ธรรมธรรมดา เกียร์รถบรรทุก เครื่องจักรหนัก
3. โดแนกซ์ TT ใช้สำหรับระบบเกียร์ไฮดรอลิกเฟืองท้าย และระบบ wet brak รถแทรกเตอร์ในการเกษตร
4. โดแนกซ์ TF ใช้สำหรับระบบเกียร์อัตโนมัติรถยนต์ทั่วไป สำหรับประเภท Type F หรือ Type G
5. แทรกเซิล ใช้สำหรับระบบเกียร์ไฮดรอลิกเฟืองท้าย และระบบเบรกที่จุ่มในน้ำมัน สำหรับรถแทรกเตอร์การเกษตร

ระบบหล่อเย็นน้ำมันเกียร์
กระปุกเกียร์จะถูกติดแน่นกับเครื่องยนต์ทำให้ได้รับความร้อนบางส่วนจากเครื่องยนต์ แต่ความร้อนที่เกิดขึ้นส่วนมากจะมากจากภายในกระปุกเกียร์เอง ที่เกิดขึ้นขณะทอร์คคอนเวอร์เตอร์สลัดน้ำมันเกียร์จากปั๊มเข้าสู่กังหัน และไหลกลับอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้เกิดความร้อนขึ้น

ดังนั้น เพื่อลดความร้อนที่เกิดขึ้น กระปุกเกียร์จะมีระบบหล่อเย็นน้ำมันเกียร์ที่ประกอบด้วยท่อส่งผ่านน้ำมันเกียร์ไปยังหม้อน้ำที่เป็นรังผึ้งไหลเวียนผ่านน้ำที่เป็นตัวช่วยลดความร้อน และไหลกลับเข้าสู่กระปุกเกียร์

การตรวจน้ำมันเกียร์
เมื่อมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำเครื่องจะต้องได้รับการตรวจสอบระดับน้ำมันเกียร์ และสภาพของน้ำมันเกียร์ทุกครั้ง
1. การตรวจระดับน้ำมันเกียร์
– การตรวจระดับน้ำมันเกียร์จะต้องตรวจในขณะที่เครื่องยนต์ทำงานอยู่ โดยสตาร์ทเครื่องยนต์ทิ้งไว้ประมาณ 1-2 นาที
– ปลดคันเกียร์ให้อยู่ในตำแหน่งจอด P และดึงเบรกมือให้รถจอดนิ่ง
– ทำความสะอาดรอบๆบริเวณก้านวัด พร้อมดึงก้านวัดขึ้นมาเช็ดทำความสะอาด
– ทำการเสียก้านวัดให้เข้าในระดับตำแหน่งเดิม
– ดึงก้านวัดขึ้นมาอีกครั้ง พร้อมสังเกตระดับน้ำมันเกียร์ที่เป็นรอยคราบของน้ำมันที่ก้านวัด
– ระดับก้านวัดจะมีรอยปิ่น 4 รอย คือ 2 รอยล่าง แสดงระดับขณะเครื่องเย็น และ 2 รอยบน ขณะเครื่องร้อนหรือเครื่องยนต์ทำงาน
– ระดับน้ำมันเกียร์ที่พอเหมาะจะต้องอยู่ในระดับไม่ต่ำกว่าขีดล่างของเครื่องร้อนหรือไม่ต่ำกว่าขีดที่ 3 นับจากล่างขึ้นบน
– หากระดับต่ำกว่าขีดที่ 3 แสดงว่าระดับน้ำมันเกียร์ไม่เพียงพอจะต้องเติมให้เต็มถึงรอยที่ 4

ระดับน้ำมันเกียร์ที่ต่ำเกินไปจะทำให้เกิดการดูดอากาศเข้าห้องเกียร์ หากระดับสูงเกินไปจะสูบออกเพราะทำให้สินเปลืองน้ำมันเกียร์

2. การตรวจสภาพน้ำมันเกียร์
โดยปกติน้ำมันเกียร์ที่ยังไม่ได้ใช้งานจะมีสภาพสีเหลืองใสหรือสีออกแดงใส หากใช้งานไปนานๆหรือมีสภาพของกระปุกเกียร์มีปัญหาจะทำให้น้ำมันเกียร์มีลักษณะสีน้ำตาลหรือสีดำข้น ซึ่งจะเปลี่ยนถ่ายใหม่

น้ำมันเกียร์เสื่อมสภาพที่เกิดจากปัญหาของกระปุกเกียร์อาจเกิดจากหลายกรณี ได้แก่
– มีฝุ่นผงของแผ่นเบรคเบรนหรือแผ่นคลัตซ์ผสม จนไหลเวียนไปตามส่วนต่างๆทำให้ระบบน้ำมันไฮโดรลิคอัดตัวแน่นกับเสื้อลิ้น เมื่อเข้าเกียร์จะทำให้เกิดเสียง
– การมีน้ำหล่อเย็นไหลเข้าห้องเกียร์จะทำให้น้ำมันเกียร์เสื่อมสภาพ และเน่าเสียเร็ว ซึ่งสังเกตได้จากการแยกชั้นของน้ำกับน้ำมัน จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์ใหม่ และทำความสะอาดกระปุกเกียร์ทั้งหมด

การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องจะทำทุกๆระยะทางวิ่ง 10000 กิโลเมตร