กรดไนตริก (Nitric acid)/กรดดินประสิว และประโยชน์กรดไนตริก

42284

กรดไนตริก (Nitric acid) หรือเรียกชื่ออื่น เช่น กรดดินประสิว อควาฟอร์ติส และสปิริตออฟไนเตอร์ เป็นกรดแก่มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อได้ดีจึงเป็นที่นิยมนำมาใช้ประโยชน์มากในทางอุตสาหกรรม โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด และการฆ่าเชื้อ รวมถึงการนำมาใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ

คุณสมบัติเฉพาะ
– มีสถานะเป็นของเหลวใส ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น
– สูตรโมเลกุล HNO3
– จุดเยือกแข็ง -42 องศาเซลเซียส
– จุดหลอมเหลว 83 องศาเซลเซียส
– ละลายน้ำ และแอลกอฮอล์ได้ดี
– สารที่เข้ากันไม่ได้ เช่น สารประกอบเซลลูโลส ด่าง โลหะต่างๆ

การผลิตกรดไนตริก สามารถผลิตได้ด้วยกระบวนการ ดังนี้
1. การใช้ไนโตรเจนไดออกไซด์เป็นสารตั้งต้นทำปฏิกิริยากับน้ำ ทำให้ได้กรดไนตริก และกรดไนตรัส ดังสมการ

• 2NO2 + H2O = HNO3 + HNO2 หรือ

• 3HNO2 = = HNO3 + 2N + H2O หรือ

• 3NO2 + H2O = 2HNO3 + NO

2. การใช้แอมโมเนียเป็นสารตั้งต้น

กรดไนตริก

ประโยชน์กรดไนตริก
1. ด้านอุตสาหกรรม นิยมนำมาเป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดชนิดต่างๆ ใช้เป็นสารเร่งปฏิกิริยา ใช้เป็นตัวทำละลาย ตัวทำละลายโลหะโดยเฉพาะเหมืองทองคำ
2. ด้านการเกษตร ใช้สำหรับการฆ่าเชื้อ และป้องกันเชื้อราในผลผลิตทางการเกษตร
3. ด้านครัวเรือน ใช้สำหรับการฆ่าเชื้อ และล้างทำความสะอาดผักผลไม้ในครัวเรือน
4. ห้องปฏิบัติการ ใช้สำหรับปรับความเป็นกรดของสารละลายตัวอย่าง ใช้สำหรับปรับความเป็นกรดของน้ำตัวอย่างเพื่อช่วยป้องกันการเติบโตของจุลินทรีย์ แพลงก์ตอนพืช ป้องกันการสังเคราะห์แสง และป้องกันการตกตะกอนของโลหะ ละลายโลหะไม่ให้จับจับภาชนะเก็บตัวอย่าง โดยเฉพาะการเก็บตัวอย่างน้ำสำหรับการวิเคราะห์ค่า TKN TP COD และโลหะหนัก

การใช้สารละลายกรดไนตริกในครัวเรือน และภาคการเกษตรจะในความเข้มข้นเพียงเล็กน้อย ด้วยการละลายในน้ำสะอาดสำหรับจุ่มล้างผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรเพื่อฆ่าเชื้อ และป้องกันเชื้อรา ซึ่งควรล้างออกด้วยน้ำสะอาดอีกครั้งหากนำมาปรุงอาหาร

ความเป็นอันตราย
– เมื่อละลายน้ำจะแตกตัวให้ไฮโดรเจนไอออน มีฤทธิ์เป็นกรด
– มีฤทธิ์กัดกร่อนโลหะ
– หากสัมผัสกับวัสดุที่มีเซลลูโลสจะทำให้เกิดการติดไฟ และควันพิษ
– สลายตัว และระเหยได้ง่ายเมื่อสัมผัสกับความร้อน และแสง ทำให้เกิดไอของไฮโดรเจน และไนโตรเจนไดออกไซด์

ความปลอดภัย
– ห้ามดื่มกิน เนื่องจากจะทำให้เกิดการระคายเครื่องต่อเยื่อบุทางเดินอาหาร เยื่อบุอักเสบ เป็นแผลในระบบทางเดินอาหาร เลือดออก อาเจียนเป็นเลือด และเกิดอาการช๊อค
– ห้ามสูดดม และหากมีการสูดดมไอระเหยจะทำให้เกิดอาหารแสบจมูก แน่นหน้าอก มีอาการระคายเคืองในระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะไอระเหยของไนโตรเจนไดออกไซด์เมื่อเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจจะทำให้เกิดความเป็นกรดขึ้น
– ระวังห้ามสัมผัสกับกับจะทำให้ตาแดง เยื่อบุตาอักเสบ หากได้รับในปริมาณความเข้มข้นมากๆ และระยะการสัมผัสที่นานพอจะทำให้ตาปอดได้
– ระวังการสัมผัสกับผิวหนัง หากสัมผัสในความเข้มข้นน้อยจะเกิดการระคายเคือง หากมีความเข้มข้นมากจะทำให้ผิวหนังแดง อักเสบ และเป็นแผลได้ง่าย
– การสัมผัสกับตาหรือผิวหนังให้รีบล้างออกด้วยน้ำสะอาดทันที หากมีอาการแสบ อักเสบ และระคายเคืองมากให้รีบพบแพทย์
– การปฏิบัติงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้องโดยรอบ ควรสวมชุดป้องกันสารเคมี ผ้าปิดจมูก แว่นตากันสารเคมี สวมถุงมือ รองเท้าบูท ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต้องป้องกันไอระเหยของกรด และสารละลายกรดได้

การจัดเก็บ
– เก็บในภาชนะแก้วหรือพลาสติก ในที่ห่างจากแสง และแหล่งความร้อน ประกายไฟ และมีการระบายอากาศที่ดี
– เก็บให้ห่างจากสารที่เข้ากันไม่ได้ เช่น สารประกอบเซลลูโลส ด่าง โลหะต่างๆ และหากเป็นกรดไนตริกเข้มข้นควรเก็บให้ห่างจากน้ำ