กรดออกซาลิก

30821

กรดออกซาลิก (Oxalic acid) เป็นกรดอินทรีย์ที่สามารถพบได้ในอาหารทั่วไป โดยเฉพาะในพืชผัก และผลไม้ แต่พบในผักเป็นส่วนใหญ่ ถือเป็นกรดที่มีความเป็นกรดสูงกว่ากรดน้ำส้ม (Acetic acid) 10,000 เท่า เมื่ออยู่ในรูปของประจุเรียกว่า ออกซาเลต (oxalate) ซึ่งสามารถเกิดสารประกอบเชิงซ้อนกับธาตุอื่นทำให้มีคุณสมบัติไม่ละลายน้ำ เช่น แคลเซียมออกซาเลต แมกนีเซียมออกซาเลต โซเดียมออกซาเลต และโพแทสเซียมออกซาเลต เป็นต้น

ลักษณะทางเคมี
– ชื่อวิทยาศาสตร์ : Oxalic acid
– ชื่อทางการค้า : Ethanedioic acid, Ethanedionic acid, Dicarboxylic acid
– สูตรทางเคมี : C2H2O4, H-O2-C-C-O2-H
– น้ำหนักโมเลกุล : 90.04

ลักษณะทางฟิสิกส์
– ผลึกเป็นแบบ
– ผลึกสีขาว
– ไม่มีกลิ่น
– จุดหลอมเหลว 90 องศาเซลเซียส
– ความถ่วงจำเพาะที่ 17 องศาเซลเซียส 1.900
– ความดันไอที่ 20 องศาเซลเซียส 0.001 มิลลิเมตรปรอท
– pH 1.3 ที่ความเข้มข้น 0.1 โมล
– ละลายได้ดีในตัวทำละลาย เช่น อีเทอร์ เบนซีน คีโตน คลอโรฟอร์ม เป็นต้น

oxalic-acid

แหล่งของกรดออกซาลิก
1. การสังเคราะห์ของร่างกาย ที่มาจากกระบวนการเมตาบอลิซึมของ glyoxylic และ ascorbic acid ดังนั้น หากร่างกายได้รับวิตามินซีมากเกินไปอาจทำให้เกิดกรดออกซาลิกเพิ่มขึ้นได้
2. จากอาหาร โดยเฉพาะผัก ผลไม้ต่างๆที่มีกรดออกซาลิก โดยพบว่าผัก และผลไม้ต่างๆที่มีกรดออกซาลิกมาก ได้แก่ ใบชะพลู ยอดพริกชี้ฟ้า ผักโขม มันสำปะหลัง และ แครอท เป็นต้น

ปริมาณกรดออกซาลิกในผลไม้ชนิดต่าง ๆ (มิลลิกรัม/ 100 กรัม)
– กล้วยไข่ 109.3 มิลลิกรัม
– เผือก 7.1 มิลลิกรัม
– พุทรา 107.4 มิลลิกรัม
– สัปปะรด 137.2 มิลลิกรัม
– กระชาย 223.2 มิลลิกรัม
– ขิงอ่อน 38.0 มิลลิกรัม
– คื่นฉ่าย 7.7 มิลลิกรัม
– คูณ 93.2 มิลลิกรัม
– ดอกกุยช่าย 3.6 มิลลิกรัม
– ดอกแค 8.8 มิลลิกรัม
– ดอกโสน 11.3 มิลลิกรัม
– ตะไคร้ 21.8 มิลลิกรัม
– แตงกวา 1.1 มิลลิกรัม
– แตงร้าน 2.9 มิลลิกรัม
– ตำลึง 8.0 มิลลิกรัม
– ต้นหอม 5.3 มิลลิกรัม
– ถั่วฝักยาว 35.0 มิลลิกรัม
– ใบกระเจี๊ยบ 389.5 มิลลิกรัม
– ใบชะพลู 1088.4 มิลลิกรัม
– ใบชะมวง 45.4 มิลลิกรัม
– ใบทองหลาง 4.3 มิลลิกรัม
– ใบบัวบก 7.5 มิลลิกรัม
– ใบแมงลัก 56.7 มิลลิกรัม
– ใบยอ 387.6 มิลลิกรัม
– ใบสาระแหน่ 14.8 มิลลิกรัม
– ใบโหระพา 128.1 มิลลิกรัม
– บวบเหลี่ยม 3.1 มิลลิกรัม
– บวบหอม 2.3 มิลลิกรัม
– ผักกระเฉด 36.3 มิลลิกรัม
– ผักกาดขาว 6.5 มิลลิกรัม
– ผักกาดหอม 7.4 มิลลิกรัม
– ผักคะน้า 7.5 มิลลิกรัม
– ฟักทอง 5.2 มิลลิกรัม
– แฟง 24.2 มิลลิกรัม
– มันแกว 37.6 มิลลิกรัม
– มันเทศ (แดง) 229.9 มิลลิกรัม
– มะเขือไข่เต่า 29.9 มิลลิกรัม
– มะเขือเทศลูกเล็ก 4.6 มิลลิกรัม
– มะเขือยาว 5.0 มิลลิกรัม
– ยอดกระถิน 51.1 มิลลิกรัม
– ยอดแค 94.8 มิลลิกรัม
– ยอดพริกชี้ฟ้า 761.7 มิลลิกรัม
– ยอดมะม่วงอ่อน 185.3 มิลลิกรัม
– สายบัว 73.6 มิลลิกรัม

ที่มา : นันทยา, 2549(1)

ประโยชน์กรดออกซาลิก
กรดออกซาลิกถือเป็นกรดที่เป็นโทษต่อร่างกายมนุษย์ แต่ก็นำมาใช้ประโยชน์ได้ในหลายด้าน อาทิ ใช้เป็นส่วนผสมของน้ำยาฆ่าเชื้อ ใช้เป็นส่วนผสมของน้ำยาทำความสะอาด ใช้เป็นสารเคมีสำหรับเติมเพื่อฆ่าเชื้อโรคในระบบบำบัดน้ำเสีย เป็นต้น

oxalic

ความเป็นพิษ (ชูสิน, 2551)(2)
กรดออกซาลิกหากร่างกายได้รับมากเกินขนาดจะทำให้เกิดความเป็นพิษ คือ ได้รับขนาด 5-15 กรัม สามารถทำให้ตายได้ หากได้รับในปริมาณน้อย และอย่างต่อเนื่องจะสะสมในร่างกาย โดยการตกตะกอนร่วมกับแคลเซียม เป็นผลึกแคลเซียมออกซาเลต ที่สะสมในไต กระเพาะปัสสาวะ หัวใจ และสมองได้ ผลจากการสะสมมักทำให้เกิดโรคนิ่วในบริเวณต่างๆ หรือกดทับระบบประสาทหากสะสมในสมอง

ความเป็นพิษแบบเฉียบพลันเมื่อรับประทานผักที่มีกรดออกซาลิกสูง คือ มีอาการปวดท้อง ลำไส้อักเสบ อาเจียน ท้องร่วง มีอาการชัก เลือดไม่แข็งตัว  และตายได้

กรดออกซาลิกจัดเป็นกรดที่มีความเป็นพิษระดับสูงมีฤทธิ์กัดกร่อน และทำให้ระคายเคืองอย่างรุนแรงต่อผิวหนัง และตา ส่วนฤทธิ์ที่มีต่ออวัยวะภายในร่างกายจะมีความเป็นพิษสูงมากขึ้น โดยมีฤทธิ์ระคายเคือง และทำลายอวัยวะภายในระบบทางเดินอาหาร ระบบทางเดินหายใจ ทำให้ระดับแคลเซียมในร่างกายลดลงมีผลต่อระบบประสาท นอกจากนั้น ยังเป็นสารสำคัญที่สามารถทำลายไตได้สูง

การทดลองให้กรดออกซาลิกในหนูทดลอง พบว่า หนูทดลองมีน้ำหนักลด การเจริญเติบโตช้า ระดับฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ลดลงทำให้ปริมาณไอโอดีนในร่างกายเปลี่ยนแปลง ลดกระบวนการทำงานของแคลเซียมในร่างกาย และมีผลต่อการสืบพันธุ์

การป้องกัน และลดความเป็นพิษ
การป้องกันการได้รับพิษจากกรดออกซาลิกที่ดี คือ หลีกเลี่ยงหรือรับประทานในปริมาณน้อยของกลุ่มพืชผักที่มีกรดออกซาลิกสูง ดังรายละเอียดข้างต้น

สำหรับการลดความเป็นพิษ ได้แก่ การรับประทานเมล็ดฟักทอง อาหารเสริมฟอสฟอรัสหรืออาหารที่มีฟอสฟอรัสสูง ซึ่งฟอสฟอรัสจะช่วยลดการก่อตัวของผลึกแคลเซียมออกซาเลท และลดปริมาณผลึกจากบริเวณที่มีการสะสมต่างๆให้น้อยลง (สุมนต์ทิพย์, 2551)(3)

เอกสารอ้างอิง
untitled